---------------------------------[รับฟังย้อนหลังได้ที่นี่เบื้องหลัง คลิปหลุด ป้าเพ็ญ-ดร.เพียงดิน ดำเนินรายการโดย อเนก ซานฟราน 3 มีนาคม 2558http://youtu.be/78Jar6c1-UMhttp://youtu.be/wjUnojB1OE0
http://www.mediafire.com/listen/u6nufstyy9cbosv/AnekSanFran-DrPaingdin-2015-3-2_.mp3ขอแสดงความในใจ ต่อเพื่อนร่วมอุดมการณ์]---------------------------------
ผมเชื่อว่า สถานการณ์วัดค่าและตัวตนของคนได้ คนระดับต่าง ๆ จะมีความสามารถในการซ่อนตัวตน หรือความคิด หรือจุดยืนของตนในระดับที่ไม่เหมือนกัน บางกลุ่มจะซ่อนเงื่อน หรือทำเนียน หรือปิดบังความคิดที่แท้จริงได้สนิท หรือไม่มีหลุดง่าย ๆ เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม บางพวกพยายามเป็นแบบแรก โดยใช้วาทกรรมในการออกตัวและสาธยายอำพราง แต่จะไม่สามารถปิดบังได้เหมือนพวกแรก เพราะพวกเขาจะไม่นิ่งหรือจิตใจอาจจะขุ่นมัว หรือตัวตนอาจจะไม่มี character ของคนใจกว้างหรือใจใหญ่ ดังนั้นพวกนี้จะมีบทบาทในการแสดงออก (โชว์โง่)มากกว่าคนกลุ่มแรก และมักจะแสดงออกแบบยืดเยื้อ ไม่หยุดง่ายเพราะจะต้องพยายามอธิบายช่องโหว่ในวาทกรรมของตนเองไปด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดพวกนี้จะต้องพยายามปิดอัตตาตัวเอง ที่ทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้ต้องคอยกลบหรือล้างไปด้วย สรุปว่า สองกลุ่มแรกนี้จะต่างกันตรงระดับความดีงามของจิตใจพื้นฐาน (เช่นความใจกว้าง ความยุติธรรม ความเมตตา มุทิตาจิต ฯลฯ) และintellectual quality ซึ่งเป็นตัวตัดสินว่า จะพูดอะไร เมื่อใด แค่ไหน คุ้มค่าหรือไม่ ฯลฯ
ในอีกฝากหนึ่ง พวกสุดโต่งหรือสุดขั้ว จะเป็นผู้ที่ไม่มีการยั้งคิด ยั้งคำ หรือพยายามซ่อนตัวตน พวกนี้จะไม่พูดยาวเหมือนพวกที่สองข้างบน แต่จะเป็นกลุ่มมีความแตกต่างในสาระประโยชน์ คนพวกนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นคนตรงเป็นคนมีจิตใจรักความเป็นธรรม มีเมตตาอารีย์ และจริงใจ ดังนั้น จะไม่มีเล่ห์เหลี่ยมเหมือนสองพวกแรก พวกนี้อาจจะมีประโยชน์มากในบางเรื่องที่สังคมพยายามเลี่ยงโดยอาจจะทำให้ปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรมโผล่ออกมา ทำให้ให้สามารถเก็บกวาดปัญหาได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า สังคมในวงที่พวกเขาอยู่นั้น จะจัดการปัญหาร่วมกันได้ดีเพียงใด
มีความสามารถในการจัดการกับปัญหา ให้มันสร้างผลบวกมากกว่าผลลบได้อย่างไร และนี่แหละเป็นปัญหาสำคัญของสังคมด้อยพัฒนาทางศีลธรรมจรรยาและทางสติปัญญา (moral and intellectual development)
การแบ่งกลุ่มมนุษย์แบบที่ผมแยกข้างบนนี้ เป็นเรื่องที่ผมไม่ค่อยนิยมทำ เพราะมนุษย์มันมีอะไรซับซ้อน ไม่ใช่จะสามารถจับเอามาแยกเป็นกอง ๆ ในมิติใดมิติหนึ่งแล้ว จะเป็นกองเดียวกันตลอดไป
ในเชิงการเมืองนั้น การยั้งคิด ความดีงามของจิตใจ ความใสของอุดมการณ์ และประโยชน์ของ
การคงอยู่ในวงสังคมใด ๆ นั้น เมื่อเอามารวมกัน แล้วให้แต่ละคนแสดงออกในการตอบสนอง
ต่อสภาวะต่าง ๆ คน ๆ หนึ่งที่อาจจะมีลักษณะตรงกับคนอีกคนหนึ่งในบางด้าน อาจจะมีลักษณะประกอบด้านอื่น ๆที่ต่างกัน ก็จะทำอะไรในสภาวะต่าง ๆ ชนิดที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ได้ นี่รวมถึงศักยภาพในการเรียนรู้และปรับตัวเพื่อการพัฒนาตัวเองไปด้วย การเรียนรู้ไม่จบสิ้น คนแก่หนุ่ม หากไม่หยุดเรียนรู้ ก็จะสามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้เสมอ
วิเคราะห์คนคร่าว ๆ แบบหยาบ ๆ ไปแล้ว อยากจะสรุปบทเรียนสำหรับตัวเองจากสถานการณ์ต่าง ๆ
บนเส้นทางการต่อสู้ทางการเมืองที่ผ่านมาร่วมกับพี่น้องไทยดังนี้
- ประโยชน์ของคน อาจจะไม่ได้มาจากดีกรี หรือตำแหน่งที่เคยทำมาว่าเลิศเลอปานใด แต่
หลายครั้งเราสามารถกำหนดระดับของประโยขน์ได้จากความดีงามของจิตใจและความยืดหยุ่นที่เผื่อสำหรับการเรียนรู้ของบุคคลนั้น ๆ มากกว่า
- อัตตา ซึ่งถูกกำหนดด้วยความโลภ โกรธ และหลง จะเป็นตัวบั่นทอนศักยภาพของคน คือ แม้คนจะมีพรสวรรค์ที่มีค่าเพียงใด ก็อาจจะเป็นตัวสร้างสิ่งเป็นโทษได้ หากอัตตาถูกชูและกำกับโดยกิเลส หรือยาพิษสามตัวนี้
- มิตรที่จริงใจ พิสูจน์ได้จากสถานการณ์วิกฤติ และศัตรูที่อยู่ในหมู่มิตร พิสูจน์ได้ในยามทีเราเพลี่ยงพล้ำ
- คนข้างตัวที่ต้องระวังที่สุด คือคนที่อัตตาสูง จดจำเรื่องเล็กน้อย อาฆาต และจ้องเอาคืนในทุกโอกาส
- คนที่รู้มาก หากนำมาใช้ไม่ได้ และหลงอยู่กับความรู้ อาจจะเป็นคนที่ใจแคบที่สุด แต่เขาอาจจะสามารถเอาหลักการมากลบเกลื่อนความใจแคบของตน โดยคนพวกนี้ จะไม่รู้ว่า อัตตาของตนมันครอบสมองและหัวใจของตนอยู่ จนความรู้ท่วมหัว เอาตัวไปทำประโยชน์ให้ใครไม่ค่อยได้จริง
- งานใหญ่จะมีอุปสรรคเพราะ: พวกใจแคบ เห็นแก่ตัว (มีอัตตาสูง) วุฒิภาวะต่ำ ขี้อิจฉา และมีผลสำคัญมาจากความสามารถในการวินิจฉัยหรือตีความสิ่งต่าง ๆ ในระดับต่ำ
- มิตรที่ขาดลักษณะสำคัญๆ ดังกล่าว ข้างต้น อาจจะเป็นอันตรายมากกว่าศัตรูที่มีลักษณะเดียวกัน
- มิตรที่มีลักษณะด้อยที่กล่าวมามากเท่าใด จะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นเมื่อเขาแสดงตัวตนออกมาในยามวิกฤติหรือยามที่พวกเขาถูกกระทบโดยตรง
- มิตรแท้ ไม่เรียกร้องคำขอโทษจากมิตร ส่วนศัตรูในร่างมิตรนั้น ต่อให้ขอโทษ
- มิตรแท้ มีค่ายิ่งกว่าเพชร จงยอมอุทิศทุกอย่างที่มีค่า เช่นเวลา น้ำใจ น้ำคำ และกำลังกาย (ฯลฯ) เพื่อรักษามิตรแท้เอาไว้
- ในที่สุดแล้ว เราต้องเลือกคิด พูด และทำเฉพาะสิ่งที่สร้างสรรค์ และทำให้ชีวิตสูงขึ้น (ไม่ใช่เชิงผลประโยชน์)
- อย่าเสียเวลากับคน ประเด็น และกิจกรรมต่อไปนี้: กิจกรรมที่ทำลายล้างมากกว่าสร้างสรรค์ ที่สร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหา และที่สร้างภาระอันไร้ประโยชน์มากกว่าสร้างสรรค์ผลงาน
- คิดการใหญ่ ปัญหาใหญ่ต้องให้มันเล็ก ปัญหาเล็ก ๆ ต้องมองข้าม ยกเว้นแต่ว่า ปัญหาเหล่านั้น มันเลี่ยงไม่ได้เพราะปล่อยไว้การใหญ่จะเสีย (ขอบคุณคุณอาคม ที่ได้พูดถึงเรื่องนี้บ่อย ๆ)
โปรดทราบว่า ที่เขียนนี้ ผมรำพึงส่วนตัว ไม่ได้มีเจตนาพาดพิงถึงผู้ใด ใครอ่านแล้วได้ประโยชน์ ก็จะยินดี แต่หากใครอ่านแล้วรู้สึกว่าถูกกระทบ ก็ต้องโทษตัวเองนะครับ ฮิ ๆ เพราะผมไม่ได้จงใจกล่าวถึงใครโดยเฉพาะเลย หากยังคิดว่า ผมเขียนพาดพิงหรือกระทบถึงท่าน แสดงว่าท่านมีปัญหาต้องสะสางตัวเองด้วยตัวเองแล้วล่ะครับ ผมให้ได้แค่คันฉ่องส่วนพระองค์ของผมเอง แฮ่ ๆ
Credit: Image: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgu-VgXBcU5DFgqzvK4VNL-CzRg7YzzjOYy_StA2KDTAxn6f6hjDLX5ISFDrNLD-Dijj8OwJwv-n6VZPewL9B4XaB_RCxguZvilAM4_LxI-fmLHJnJ_0XEFDBnFeAUWvFyqZMsQzjcub54/s1600/the+root+of+suffering.jpg
No comments:
Post a Comment