สถาบันกษัตริย์ไทย ใช้เงินภาษีอากรของคนไทยจริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด?
https://youtu.be/GkJk9wRJKMwสถาบันกษัตริย์รับเงินเดือนจากภาษีอากรของประชาชนหรือไม่?
สถาบันกษัตริย์จ่ายเงินเลี้ยงดูประชาชนหรือไม่? ปีหนึ่งๆ
เงินจากภาษีอากรของประชาชนถูกนำไปใข้เพื่อการเทิดทูนและปกป้องสถาบันกษัตริย์
ตลอดจนให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับราชวงศ์ปีละเท่าใดแน่?
รอแยลลิสต์บางท่านเห็น พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เขียนบทความ "งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ ปี 2558" แล้วถามว่า "ต้องการสื่ออะไร?" ผู้เขียนบทความมีคำตอบ
บทความเกี่ยวข้อง
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ ปี 2558
สำรวจตาม "ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
ปี 2558
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว"[1] ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติเห็นชอบในวาระ 3 ไปเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2557 และจะนำประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปนั้น
พบว่า งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์มีจำนวน "เพิ่มขึ้น" จากงบปีที่ผ่านมาจำนวน3,194,593,678 บาท[2] นอกจากนี้
มีข้อน่าสังเกตว่า งบประมาณแผ่นดินฯ ประเภท "แผนงานเทิดทูนฯ" ปีนี้
มีการเพิ่มเติมหน่วยงานที่ได้รับงบประเภทนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน, กรมการจัดหางาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งตามงบประมาณแผ่นดินฯ
ยุคก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม ปี 2557 ทั้งสามหน่วยงานนี้ไม่ได้รับงบ "แผนงานเทิดทูนฯ" แต่อย่างใด
รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันกษัตริย์
ทั้งสิ้น 17,268,256,200 บาท (อ่านว่า
หนึ่งหมื่นเจ็ดพันสองร้อยหกสิบแปดล้านสองแสนห้าหมื่นหกพันสองร้อยบาท)
เฉลี่ยวันละ 47,310290 บาท
ชั่วโมงละ 1,971,262 บาท
นาทีละ 32,854 บาท
วินาทีละ 547 บาท
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบงบประมาณแผ่นดินฯ ใน "งบเทิดทูนฯ (หรือ
งบที่ใช้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์)" ซึ่งผมเริ่มสำรวจตั้งแต่ปี 2554 ถึงปีงบประมาณปัจจุบัน[๓] จะเห็นได้ว่า
งบประมาณแผ่นดิน ประเภท "งบเทิดทูนฯ" หลังรัฐประหาร 2557 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โปรดพิจารณากราฟ
สำหรับงบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ประจำปี 2558 รายละเอียดดังต่อไปนี้
กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
มาตรา 4 (1) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2,500,000,000 บาท
มาตรา 4 (2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 800,000,000บาท
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
มาตรา 5 ข้อ 1 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์135,946,100 บาท
สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
มาตรา 5 ข้อ 4 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 5,561,838,800บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
มาตรา ๖ ข้อ ๑ (๓) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๘๘,๗๙๔,๗๐๐ บาท
กรมราชองครักษ์
มาตรา 8 ข้อ 2 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 619,472,700 บาท
กองบัญชาการกองทัพไทย
มาตรา 6 ข้อ 3 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 93,000,000 บาท
กองทัพบก
มาตรา 6 ข้อ 4 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 309,500,000 บาท
กองทัพเรือ
มาตรา 6 ข้อ 5 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 12,246,100 บาท
กองทัพอากาศ
มาตรา 6 ข้อ 6 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๓๕,๓๐๐,๐๐๐ บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 17 ข้อ 1 (3) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 70,162,800
บาท
กรมโยธาธิการและผังเมือง
มาตรา 17 ข้อ 6 (3) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 865,300,000บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
มาตรา 18 ข้อ 1 (5) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 5,112,000 บาท
กรมการจัดหางาน
มาตรา 19 ข้อ 2 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์8,000,000 บาท
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
มาตรา 19 ข้อ 3 (3) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 33,872200 บาท
สำนักราชเลขาธิการ
มาตรา 25 ข้อ 1 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 829,503,700 บาท
สำนักพระราชวัง
มาตรา 25 ข้อ 2 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 3,327,055,300 บาท
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มาตรา 25 ข้อ 4 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 672,049,400 บาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรา 25 ข้อ 7 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์
และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 501,102,400 บาท
หมายเหตุ งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ (จำนวน 17,268,256,200 บาท : ปี 2558) มากกว่าเงินงบประมาณของ
- กระทรวงการต่างประเทศ (งบ 8,592,959,000 บาท)
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (งบ 8,302,365,900 บาท)
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (งบ 9,539,047,200 บาท)
- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (งบ 5,723,692,200 บาท)
- กระทรวงพลังงาน (งบ1,997,012,700 บาท)
- กระทรวงพาณิชย์ (งบ 7,341,933,000 บาท)
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (งบ 8,942,694,300 บาท)
- หน่วยงานของรัฐสภา (งบ 6,844,716,800 บาท)
- หน่วยงานอิสระของรัฐ (งบ 13,529,849,300 บาท)
- สภากาชาดไทย (งบ 5,981345,300 บาท)
ที่มา :
โดย Phuttipong
ที่มา Blogazine Prachatai
ที่มา Blogazine Prachatai