Saturday, April 2, 2016
จะเป็นไทต้องไม่มีในหลวง
จะเป็นไทต้องไม่มีในหลวง
ทรราช คสช. อ่อนไหวถึงขนาด “เพ้อฝัน” และมองข้ามสภาพความเป็นจริง
ทรราช คสช. อ่อนไหวถึงขนาด “เพ้อฝัน” และมองข้ามสภาพความเป็นจริง
สมุนทรราช กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ ทรราช คสช. ลากตั้ง ส.ว. 250 คนเอง
สมุนทรราช กรธ.ไม่ 'ขัดใจ' ยกให้ ทรราช คสช. ลากตั้ง ส.ว. 250 คนเอง
——————————–
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี
–
เรื่องที่เป็นประเด็นร้อนและมีการถกเถียงของสังคม ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนลงประชามติ คงหนีไม่พ้นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ในวาระแรกเริ่ม ที่มาจากข้อเสนอของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า
–
"ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่เริ่มจัดระเบียบทางการเมืองใหม่ ควรให้ ส.ว. ชุดแรกมาจากการคัดสรร หรือแต่งตั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ ปลอดจากพรรคการเมือง สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ช่วยประคับประคองความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูป และการสร้างความสามัคคีปรองดองร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
–
ด้านคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ตอบสนองข้อเสนอนี้ โดยกำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา 269 สรุปได้ว่า
–
ในวาระเริ่มแรก ให้ ส.ว. ประกอบด้วยสมาชิก 250 คน โดยให้ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านต่างๆ เป็นกลางทางการเมือง 9-12 คน ทำหน้าที่สรรหาผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ว. จำนวนไม่เกิน 400 คน เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 194 คน และคัดชื่อสำรองอีก 50 คน
–
อีกส่วนหนึ่ง มาจากผู้ที่เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
–
และส่วนสุดท้ายได้จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการจัดให้มีการเลือก ส.ว. โดยให้ผู้มีความรู้ ประสบการณ์หลายด้าน กลุ่มวิชาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ เลือกกันเองให้ได้ 200 คน แล้วนำรายชื่อให้ คสช. เลือกให้เหลือ 50 คน และคัดชื่อสำรองไว้อีก 50 คน จากที่มาสามทางนี้ก็จะได้ ส.ว.ครบ 250 คนพอดี
–
ส.ว.ชุดนี้จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีอำนาจหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ จัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ดูแลกฎหมายที่จะกระทบต่อการดำเนินการกระบวนการยุติธรรม
–
ทำไมต้องมี ส.ว.สรรหา 250 คน?
–
เป็นคำถามที่ผู้สื่อข่าวถาม มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. หลังการแถลงเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ มีชัยตอบว่าเดิม คสช.ขอมาให้มี ส.ว.สรรหาเลยทั้ง 250 คน แต่ กรธ.ขอว่าให้ คสช. เลือกมา 200 คนก็พอ ส่วนอีก 50 คน ให้มาทดลองระบบใหม่ โดยให้มีการเลือกกันทั้งประเทศ เหลือ 200 คน แล้วให้ คสช. เลือกเหลือ 50 คน
–
มีชัยกล่าวต่อไปว่า ถ้าถามว่าทำไม กรธ. จึงยอมใส่เรื่องนี้ในร่างรัฐธรรมนูญ ก็เพราะ คสช. ให้เหตุผลมาว่า
–
ความเรียบร้อยทั้งหลายที่ คสช. เคยมุ่งหมายไว้ยังไม่ดี
–
การปฏิรูปก็ยังไม่ครบถ้วน จึงอยากทำต่อ แต่ไม่สามารถให้ตัวเองทำได้ จึงควรให้ ส.ว. คอยเร่งรัด ตรวจสอบ ท้วงติง การปฏิรูปต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวม
–
เทียบข้อเสนอเดิมของ คสช. แทบไม่ต่าง แค่ตัดอำนาจอภิปรายไม่ไว้วางใจออก
–
เมื่อย้อนดูข้อเสนอของ คสช. ก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเผยโฉม จะเห็นว่า แทบไม่มีความแตกต่างจากเดิมเลย เพียงแต่มีการลงรายละเอียดในส่วนของที่มา ส.ว. ให้ชัดเจนขึ้น และตัดอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจออกไป เรียกว่า กรธ. รับเอาข้อเสนอของ คสช. มาเต็มๆ
–
คสช. เสนอว่า ส.ว. มีวาระ 5 ปี ควรมีจำนวนกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรหรือ 250 คน มาจากการสรรหาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นอิสระและกลาง 8-10 คน และให้มี ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ซึ่งจะเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงแห่งชาติ ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
–
ส่วนอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. คสช. เสนอว่า ไม่มีอำนาจหน้าที่เลือกหรือกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แต่ควรให้มีอำนาจหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจหรืออื่น ๆ ตามกติการะบบรัฐสภาและกระบวนการยุติธรรมในระหว่างช่วงการเปลี่ยนผ่านด้วย
–
Cr. โดย iLaw
สมุนทรราช กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ ทรราช คสช. ลากตั้ง ส.ว. 250 คนเอง
สมุนทรราช กรธ.ไม่ 'ขัดใจ' ยกให้ ทรราช คสช. ลากตั้ง ส.ว. 250 คนเอง
——————————–
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี
–
เรื่องที่เป็นประเด็นร้อนและมีการถกเถียงของสังคม ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนลงประชามติ คงหนีไม่พ้นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ในวาระแรกเริ่ม ที่มาจากข้อเสนอของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า
–
"ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่เริ่มจัดระเบียบทางการเมืองใหม่ ควรให้ ส.ว. ชุดแรกมาจากการคัดสรร หรือแต่งตั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ ปลอดจากพรรคการเมือง สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ช่วยประคับประคองความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูป และการสร้างความสามัคคีปรองดองร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
–
ด้านคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ตอบสนองข้อเสนอนี้ โดยกำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา 269 สรุปได้ว่า
–
ในวาระเริ่มแรก ให้ ส.ว. ประกอบด้วยสมาชิก 250 คน โดยให้ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านต่างๆ เป็นกลางทางการเมือง 9-12 คน ทำหน้าที่สรรหาผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ว. จำนวนไม่เกิน 400 คน เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 194 คน และคัดชื่อสำรองอีก 50 คน
–
อีกส่วนหนึ่ง มาจากผู้ที่เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
–
และส่วนสุดท้ายได้จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการจัดให้มีการเลือก ส.ว. โดยให้ผู้มีความรู้ ประสบการณ์หลายด้าน กลุ่มวิชาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ เลือกกันเองให้ได้ 200 คน แล้วนำรายชื่อให้ คสช. เลือกให้เหลือ 50 คน และคัดชื่อสำรองไว้อีก 50 คน จากที่มาสามทางนี้ก็จะได้ ส.ว.ครบ 250 คนพอดี
–
ส.ว.ชุดนี้จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีอำนาจหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ จัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ดูแลกฎหมายที่จะกระทบต่อการดำเนินการกระบวนการยุติธรรม
–
ทำไมต้องมี ส.ว.สรรหา 250 คน?
–
เป็นคำถามที่ผู้สื่อข่าวถาม มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. หลังการแถลงเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ มีชัยตอบว่าเดิม คสช.ขอมาให้มี ส.ว.สรรหาเลยทั้ง 250 คน แต่ กรธ.ขอว่าให้ คสช. เลือกมา 200 คนก็พอ ส่วนอีก 50 คน ให้มาทดลองระบบใหม่ โดยให้มีการเลือกกันทั้งประเทศ เหลือ 200 คน แล้วให้ คสช. เลือกเหลือ 50 คน
–
มีชัยกล่าวต่อไปว่า ถ้าถามว่าทำไม กรธ. จึงยอมใส่เรื่องนี้ในร่างรัฐธรรมนูญ ก็เพราะ คสช. ให้เหตุผลมาว่า
–
ความเรียบร้อยทั้งหลายที่ คสช. เคยมุ่งหมายไว้ยังไม่ดี
–
การปฏิรูปก็ยังไม่ครบถ้วน จึงอยากทำต่อ แต่ไม่สามารถให้ตัวเองทำได้ จึงควรให้ ส.ว. คอยเร่งรัด ตรวจสอบ ท้วงติง การปฏิรูปต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวม
–
เทียบข้อเสนอเดิมของ คสช. แทบไม่ต่าง แค่ตัดอำนาจอภิปรายไม่ไว้วางใจออก
–
เมื่อย้อนดูข้อเสนอของ คสช. ก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเผยโฉม จะเห็นว่า แทบไม่มีความแตกต่างจากเดิมเลย เพียงแต่มีการลงรายละเอียดในส่วนของที่มา ส.ว. ให้ชัดเจนขึ้น และตัดอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจออกไป เรียกว่า กรธ. รับเอาข้อเสนอของ คสช. มาเต็มๆ
–
คสช. เสนอว่า ส.ว. มีวาระ 5 ปี ควรมีจำนวนกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรหรือ 250 คน มาจากการสรรหาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นอิสระและกลาง 8-10 คน และให้มี ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ซึ่งจะเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงแห่งชาติ ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
–
ส่วนอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. คสช. เสนอว่า ไม่มีอำนาจหน้าที่เลือกหรือกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แต่ควรให้มีอำนาจหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจหรืออื่น ๆ ตามกติการะบบรัฐสภาและกระบวนการยุติธรรมในระหว่างช่วงการเปลี่ยนผ่านด้วย
–
Cr. โดย iLaw
ส.ว.แต่งตั้งคุมการเมืองยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ
ส.ว.แต่งตั้งคุมการเมืองยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ
บทเรียนจากการสอดส่องประชาชนในต่างประเทศ: เมื่อรัฐลุแก่อำนาจและทำลายเศรษฐกิจดิจิทัล
บทเรียนจากการสอดส่องประชาชนในต่างประเทศ: เมื่อรัฐลุแก่อำนาจและทำลายเศรษฐกิจดิจิทัล
บทเรียนจากการสอดส่องประชาชนในต่างประเทศ: เมื่อรัฐลุแก่อำนาจและทำลายเศรษฐกิจดิจิทัล
บทเรียนจากการสอดส่องประชาชนในต่างประเทศ: เมื่อรัฐลุแก่อำนาจและทำลายเศรษฐกิจดิจิทัล
ประเทศไทย กำลังก้าวไปสู่อนาคตที่น่าสะพึงกลัวนัก! (บทความ ดร. เพียงดิน รักไทย)
หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ความเสี่ยงต่อการเผชิญหน้าก็จะไม่ได้ลดน้อยลง เพียงแต่ฝั่งเผด็จการ จะหาข้ออ้างด้านความชอบธรรมในการรักษาอำนาจและคุมเกมอำนาจก้าวต่อไปยากยิ่งขึ้น และประชาชนฝั่งนิยมประชาธิปไตย ก็จะมีข้ออ้างในการลุกฮือขับไล่ฝั่งเผด็จการได้มากขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่า ฝั่งเผด็จการจะลดเจตนารมย์ในการใช้กำลังสำหรับการกดขี่ให้ศัตรูสยบยอม อันเป็นสันดานของเจ้าของระบอบราชาธิปไตยที่ฝังรากลึกในอวัยวะสำคัญของเครือข่ายเผด็จการหลงยุคนี้
ประเทศไทย กำลังก้าวไปสู่อนาคตที่น่าสะพึงกลัวนัก! (บทความ ดร. เพียงดิน รักไทย)
หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ความเสี่ยงต่อการเผชิญหน้าก็จะไม่ได้ลดน้อยลง เพียงแต่ฝั่งเผด็จการ จะหาข้ออ้างด้านความชอบธรรมในการรักษาอำนาจและคุมเกมอำนาจก้าวต่อไปยากยิ่งขึ้น และประชาชนฝั่งนิยมประชาธิปไตย ก็จะมีข้ออ้างในการลุกฮือขับไล่ฝั่งเผด็จการได้มากขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่า ฝั่งเผด็จการจะลดเจตนารมย์ในการใช้กำลังสำหรับการกดขี่ให้ศัตรูสยบยอม อันเป็นสันดานของเจ้าของระบอบราชาธิปไตยที่ฝังรากลึกในอวัยวะสำคัญของเครือข่ายเผด็จการหลงยุคนี้
Friday, April 1, 2016
แม่ลูกจันทร์: ความเสียหายอันมหันต์ อันเกิดจากรัฐธรรมนูญโจร ที่ตัดการศึกษา ม. ปลาย ฟรี
แม่ลูกจันทร์: ความเสียหายอันมหันต์ อันเกิดจากรัฐธรรมนูญโจร ที่ตัดการศึกษา ม. ปลาย ฟรี
Thursday, March 31, 2016
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 40 เดินหน้ายกตน เจาะยางประชาธิปไตย (ต่อ)
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 40 เดินหน้ายกตน เจาะยางประชาธิปไตย (ต่อ)
หรือ
หรือ
----------------------
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หรือรายงานการปฏิบัติงานสร้างเครือข่าย ทางอีเมล์ 4everche@gmail.com
ย้อนหลัง....
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 39 เชิดตัวชูตน และเจาะยาง-บ่อนทำลาย ประชาธิปไตย
หรือ
หรือ
----------------------
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หรือส่งอีเมล์ไปที่ 4everche@gmail.com
************************
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 38 พฤษภาเลือด 2535 และพระราชาเจ้าเล่ห์
หรือ
******************************************
********************
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 37 รสช.-พฤษภา 2535 & ประเทศข้า ใครอย่าแตะ! 2
หรือ
หรือ
----------------------
********************
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 36 รสช.-พฤษภา 2535 & ประเทศข้า ใครอย่าแตะ! 1
หรือ
----------------------
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 35 ตอน เรื่องวุ่น ๆ ในวังอลเวง และการชูเปรม เพื่อค้ำบัลลังก์
หรือ
หรือ
หรือ
----------------------
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หรือส่งอีเมล์แจ้งผลการปฏิบัติงานไปที่ Email: 4everche@gmail.com
____________________________________________________
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 40 เดินหน้ายกตน เจาะยางประชาธิปไตย (ต่อ)
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 40 เดินหน้ายกตน เจาะยางประชาธิปไตย (ต่อ)
หรือ
หรือ
----------------------
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หรือรายงานการปฏิบัติงานสร้างเครือข่าย ทางอีเมล์ 4everche@gmail.com
ย้อนหลัง....
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 39 เชิดตัวชูตน และเจาะยาง-บ่อนทำลาย ประชาธิปไตย
หรือ
หรือ
----------------------
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หรือส่งอีเมล์ไปที่ 4everche@gmail.com
************************
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 38 พฤษภาเลือด 2535 และพระราชาเจ้าเล่ห์
หรือ
******************************************
********************
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 37 รสช.-พฤษภา 2535 & ประเทศข้า ใครอย่าแตะ! 2
หรือ
หรือ
----------------------
********************
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 36 รสช.-พฤษภา 2535 & ประเทศข้า ใครอย่าแตะ! 1
หรือ
----------------------
กษัตริย์ไทยไม่เคยยิ้ม ตอน 35 ตอน เรื่องวุ่น ๆ ในวังอลเวง และการชูเปรม เพื่อค้ำบัลลังก์
หรือ
หรือ
หรือ
----------------------
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หรือส่งอีเมล์แจ้งผลการปฏิบัติงานไปที่ Email: 4everche@gmail.com
____________________________________________________
Wednesday, March 30, 2016
นักวิชาการยกตัวเลขแย้ง “มีชัย” ยันเรียนฟรีถึงม.ปลายจำเป็น หากจะลดความเหลื่อมล้ำ
นักวิชาการยกตัวเลขแย้ง "มีชัย" ยันเรียนฟรีถึงม.ปลายจำเป็น หากจะลดความเหลื่อมล้ำ
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงความเห็นถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องการ ศึกษา โดยระบุว่า
"สิทธิเรียนฟรี ม.ปลาย กับ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา"
ตาม ที่น้องๆ เยาวชน กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไททวงสิทธิการเรียนฟรี ในระดับ ม.ปลาย ที่ถูกตัดออกไปจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวานนี้
ล่าสุด นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ชี้แจงว่า กรธ. ได้บัญญัติให้รัฐต้องสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นก่อนการศึกษาภาคบังคับ จนถึงชั้น ม.3 รวมเวลา 12 ปีเช่นเดิม เพียงแต่มีการร่นช่วงอายุลงมาเท่านั้น เพื่อความเท่าเทียมกันระหว่างคนจนและคนรวย
เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงหลายประการที่ต้องอธิบาย
ข้อ เท็จจริงประการแรกคือ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ปรับเปลี่ยนกรอบการดําเนินการจาก 12 ปีเป็น 15 ปี ในชื่อ "โครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ" ครอบคลุมทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษาในระดับชั้นอนุบาล-ปวช.3 อยู่ โดยให้การอุดหนุนค่าเล่าเรียนต่อหัวนักเรียนในรูปตัวเงินให้แก่สถานศึกษาและ ครอบครัวนักเรียน
แต่ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หน้าที่ของรัฐจะมีเพียงการสนับสนุนให้นักเรียน เรียนฟรีจนถึง ม.3 (ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่) เท่านั้น ส่วนสิทธิของประชาชนนั้นหายไปกลายเป็นหน้าที่ของรัฐแทนแล้ว
นอกจากนี้ นายมีชัยยังอธิบายเหตุผลที่ตัดออกว่า "…อันนี้ต้องเข้าใจว่าทุกวันนี้ระบบการศึกษามันไม่ทัดเทียมกัน เพราะเด็กจะพัฒนาได้เนี่ยต้องอยู่ระหว่าง 2-5 ขวบ ซึ่งคนมีตังค์ได้รับการพัฒนา แต่คนจนไม่ได้รับการพัฒนา เพราะฉะนั้นพอถึงมัธยมปลายก็เสียเปรียบ สู้กันไมได้เพราะตอนนั้นสมองไม่พัฒนาแล้ว
สิ่งที่เราทำก็คือการร่น 12 ปีลงมาข้างล่างเพื่อรองรับคนจน แล้วพอถึงมัธยมปลาย คนจนก็จะได้รับการดูเพราะจะมีกองทุนการศึกษาให้ ส่วนคนมีสตางค์ก็ออกสตางค์ เพราะฉะนั้นความทัดเทียมมันถึงจะเกิดขึ้นได้จริง ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้คนจนก็จะแย่ เสียเปรียบ…" นี่คือคำอธิบายของนายมีชัย
แต่ จากผลการศึกษาของ ดร. ดิลก ลัทธพิพัฒน์ ที่ทำไว้อย่างน่าสนใจว่า ก่อนที่เราจะมีรัฐธรรมนูญ 2540 เราจะเห็นว่า สัดส่วนการเข้าเรียนระดับม.ปลาย (กราฟทางซ้ายมือ) ของกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 25% แรกกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% นั้นแตกต่างเหลื่อมล้ำกันมาก ในช่วงนั้น กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% มีสัดส่วนได้เข้าเรียน ม.ปลาย ไม่ถึงร้อยละ 10 เท่านั้น
โชคดีที่เรามีรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะว่า หลังจากนั้น สัดส่วนการเข้าเรียนของกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสูงกว่าร้อยละ 40 ในปัจจุบัน (กลุ่มครัวเรือนที่รวยที่สุด 25% แรกมีอัตราการเข้าเรียนประมาณร้อยละ 80) และความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 25% แรกกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% เริ่มหดแคบเข้า เพราะฉะนั้น การระบุสิทธิการเรียนฟรี 12 ปีไว้ มีส่วนช่วยที่จะลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าวลงได้มากทีเดียว
เพื่อเปรียบ เทียบกัน อยากให้ลองมองภาพทางขวามือ สัดส่วนการเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ซึ่งสิทธิการเรียนฟรียังครอบคลุมไม่ถึง เราจะเห็นว่า ความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 25% แรกกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% กลับขยายห่างออกไปมากขึ้น แม้กระทั่งปัจจุบัน กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% ยังมีสัดส่วนได้เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ถึงร้อยละ 10 ด้วยซ้ำครับ
เพราะ ฉะนั้น สิทธิการเรียนฟรีของประชาชน ในระดับ ม.ปลาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำสำหรับคนรุ่นหน้า เป็นความหวังหนึ่งในการพาให้สังคมไทย พ้นจากความเหลื่อมล้ำที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
ผมจึงอยากถามนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ใช้ข้อมูลหลักฐานหรือผลการศึกษาใดในการชี้แจงดังกล่าวครับ ถ้ามีรบกวนแจ้งด้วยครับ เพราะผมก็อยากเรียนรู้แง่มุมที่แตกต่างเช่นกันครับ ผมพร้อมที่จะศึกษาข้อมูลใหม่ๆ ที่แตกต่างจากที่ผมรู้ครับ
แต่ถ้าคำชี้แจงดังกล่าวเป็นกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีผลการศึกษายืนยัน ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง
นักวิชาการยกตัวเลขแย้ง “มีชัย” ยันเรียนฟรีถึงม.ปลายจำเป็น หากจะลดความเหลื่อมล้ำ
นักวิชาการยกตัวเลขแย้ง "มีชัย" ยันเรียนฟรีถึงม.ปลายจำเป็น หากจะลดความเหลื่อมล้ำ
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงความเห็นถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องการ ศึกษา โดยระบุว่า
"สิทธิเรียนฟรี ม.ปลาย กับ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา"
ตาม ที่น้องๆ เยาวชน กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไททวงสิทธิการเรียนฟรี ในระดับ ม.ปลาย ที่ถูกตัดออกไปจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวานนี้
ล่าสุด นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ชี้แจงว่า กรธ. ได้บัญญัติให้รัฐต้องสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นก่อนการศึกษาภาคบังคับ จนถึงชั้น ม.3 รวมเวลา 12 ปีเช่นเดิม เพียงแต่มีการร่นช่วงอายุลงมาเท่านั้น เพื่อความเท่าเทียมกันระหว่างคนจนและคนรวย
เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงหลายประการที่ต้องอธิบาย
ข้อ เท็จจริงประการแรกคือ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ปรับเปลี่ยนกรอบการดําเนินการจาก 12 ปีเป็น 15 ปี ในชื่อ "โครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ" ครอบคลุมทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษาในระดับชั้นอนุบาล-ปวช.3 อยู่ โดยให้การอุดหนุนค่าเล่าเรียนต่อหัวนักเรียนในรูปตัวเงินให้แก่สถานศึกษาและ ครอบครัวนักเรียน
แต่ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หน้าที่ของรัฐจะมีเพียงการสนับสนุนให้นักเรียน เรียนฟรีจนถึง ม.3 (ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่) เท่านั้น ส่วนสิทธิของประชาชนนั้นหายไปกลายเป็นหน้าที่ของรัฐแทนแล้ว
นอกจากนี้ นายมีชัยยังอธิบายเหตุผลที่ตัดออกว่า "…อันนี้ต้องเข้าใจว่าทุกวันนี้ระบบการศึกษามันไม่ทัดเทียมกัน เพราะเด็กจะพัฒนาได้เนี่ยต้องอยู่ระหว่าง 2-5 ขวบ ซึ่งคนมีตังค์ได้รับการพัฒนา แต่คนจนไม่ได้รับการพัฒนา เพราะฉะนั้นพอถึงมัธยมปลายก็เสียเปรียบ สู้กันไมได้เพราะตอนนั้นสมองไม่พัฒนาแล้ว
สิ่งที่เราทำก็คือการร่น 12 ปีลงมาข้างล่างเพื่อรองรับคนจน แล้วพอถึงมัธยมปลาย คนจนก็จะได้รับการดูเพราะจะมีกองทุนการศึกษาให้ ส่วนคนมีสตางค์ก็ออกสตางค์ เพราะฉะนั้นความทัดเทียมมันถึงจะเกิดขึ้นได้จริง ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้คนจนก็จะแย่ เสียเปรียบ…" นี่คือคำอธิบายของนายมีชัย
แต่ จากผลการศึกษาของ ดร. ดิลก ลัทธพิพัฒน์ ที่ทำไว้อย่างน่าสนใจว่า ก่อนที่เราจะมีรัฐธรรมนูญ 2540 เราจะเห็นว่า สัดส่วนการเข้าเรียนระดับม.ปลาย (กราฟทางซ้ายมือ) ของกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 25% แรกกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% นั้นแตกต่างเหลื่อมล้ำกันมาก ในช่วงนั้น กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% มีสัดส่วนได้เข้าเรียน ม.ปลาย ไม่ถึงร้อยละ 10 เท่านั้น
โชคดีที่เรามีรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะว่า หลังจากนั้น สัดส่วนการเข้าเรียนของกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสูงกว่าร้อยละ 40 ในปัจจุบัน (กลุ่มครัวเรือนที่รวยที่สุด 25% แรกมีอัตราการเข้าเรียนประมาณร้อยละ 80) และความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 25% แรกกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% เริ่มหดแคบเข้า เพราะฉะนั้น การระบุสิทธิการเรียนฟรี 12 ปีไว้ มีส่วนช่วยที่จะลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าวลงได้มากทีเดียว
เพื่อเปรียบ เทียบกัน อยากให้ลองมองภาพทางขวามือ สัดส่วนการเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ซึ่งสิทธิการเรียนฟรียังครอบคลุมไม่ถึง เราจะเห็นว่า ความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 25% แรกกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% กลับขยายห่างออกไปมากขึ้น แม้กระทั่งปัจจุบัน กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% ยังมีสัดส่วนได้เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ถึงร้อยละ 10 ด้วยซ้ำครับ
เพราะ ฉะนั้น สิทธิการเรียนฟรีของประชาชน ในระดับ ม.ปลาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำสำหรับคนรุ่นหน้า เป็นความหวังหนึ่งในการพาให้สังคมไทย พ้นจากความเหลื่อมล้ำที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
ผมจึงอยากถามนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ใช้ข้อมูลหลักฐานหรือผลการศึกษาใดในการชี้แจงดังกล่าวครับ ถ้ามีรบกวนแจ้งด้วยครับ เพราะผมก็อยากเรียนรู้แง่มุมที่แตกต่างเช่นกันครับ ผมพร้อมที่จะศึกษาข้อมูลใหม่ๆ ที่แตกต่างจากที่ผมรู้ครับ
แต่ถ้าคำชี้แจงดังกล่าวเป็นกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีผลการศึกษายืนยัน ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง
รายการคนต้องเท่ากับคนประจำวันที่ 30 มีนาคม 2559 โดยคุณจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ภัยจากรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์
รายการคนต้องเท่ากับคนประจำวันที่ 30 มีนาคม 2559 โดยคุณจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ภัยจากรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์
เกือบ 2 ปีหลังการรัฐประหาร คสช.มีการเรียกปรับทัศนคติประชาชนอย่างต่อเนื่อง เว็บไซต์ไอลอว์รวบรวมข้อมูลว่ามีกว่า 900 ราย
http://news.voicetv.co.th/thailand/344661.html
เกือบ 2 ปีหลังการรัฐประหาร คสช.มีการเรียกปรับทัศนคติประชาชนอย่างต่อเนื่อง เว็บไซต์ไอลอว์รวบรวมข้อมูลว่ามีกว่า 900 ราย
วันนี้เป็นวันที่ 3 ที่นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส. สมุทรปราการ ถูกปรับทัศนคติในค่ายทหาร หลังเขาเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลาออก หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ นี่เป็นครั้งที่ 2 ของเขา ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 คสช. ส่งนายทหารผู้ดูแลพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเข้าไปพูดคุยที่บ้านพักใช้เวลา ประมาณ 1 ชั่วโมง
ส่วนนายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถูกเรียกปรับทัศนคติเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ที่กองทัพภาคที่ 1 ใช้เวลาพูดคุยประมาณครึ่งวัน ส่วนครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 ที่มลฑลทหารบกที่ 11 รวมเวลานับ 10 ชั่วโมง
นักการเมืองอีกคนหนึ่งที่ทหารเรียกไปปรับทัศนคติในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา อาจจะเรียกได้ว่า มากที่สุดคือนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ถูกปรับทัศนคติมาแล้ว 7 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือ 9 กันยายน 2558
วอยซ์ทีวี ยังรวบรวมข้อมูลรูปแบบการเรียกปรับทัศนคติของ รัฐบาล คสช. ไว้ด้วย มีทั้งการส่งจดหมายเชิญตัว โทรศัพท์เพื่อเชิญตัวไปเพื่อดื่มกาแฟ ทานข้าวร่วมกัน ต่อมาเปลี่ยนเป็นการโทรศัพท์เข้าที่บ้านพัก หรือโทรศัพท์มือถือ ไปรับตัวที่บ้าน และเปลี่ยนเป็นการไปรับที่บ้านโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ไม่เปิดเผยสถานที่การควบคุม
กลุ่มคนที่ถูกเรียกปรับทัศนคติแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือนักการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคเพื่อไทย สื่อมวลชนที่แสดงความคิดเห็นสวนทางกับรัฐบาล และคสช. นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่แสดงสัญลักษณ์ที่ คสช. ให้ความหมายว่าเป็นการต่อต้าน
เมื่อสำรวจท่าทีหรือการกระทำก่อนถูกเรียกปรับทัศนคติ มักพบหลายรูปแบบ เช่น โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี วิจารณ์การบริหารประเทศ และนโยบายของรัฐบาล คสช.
จากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลด้านกฎหมายไอลอว์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คสช. เรียกประชาชนเข้าปรับทัศนคติอย่างน้อย 900 ราย เป็นการถูกจับกุมคุมขังจากการชุมนุมโดยสงบ 214 ราย ถูกดำเนินคดีที่ศาลทหาร 155 ราย ถูกดำเนินคดีที่ศาลพลเรือน 47 ราย และถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท ม. 112 รวม 50 ราย
|
|
|
|
|
|