Tuesday, June 30, 2015

Piangdin for Peace Academy: อียูออกแถลงการณ์กรณีจับกุม นศ.14 คน ชี้ "เป็นพัฒนา...

30 มิ.ย. 2558

หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

อนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ่านแถลงการณ์ในนามเครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง
เรียกร้องให้ปล่อยตัว 14 นศ.
ทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขและไม่ให้มีการตั้งข้อหา หรือดำเนินคดี
ระบุการจับกุมคุมขังนักศึกษาจำนวน 14
คนด้วยข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นสิ่งไม่ชอบธรรมเพราะรัฐประหาร
ไม่มีความชอบธรรมตั้งแต่ต้น



รายละเอียดมีดังนี้

เครดิต ประชาไท















แถลงการณ์จากเครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง

ฉบับที่ 1



สังคมไทยสร้างขึ้นจากความสัมพันธ์หลายด้านและหนึ่งในนั้นคือความสัมพันธ์
ระหว่างครูกับศิษย์ เพราะพ้นจากครอบครัวและผู้ให้กำเนิดแล้ว
สถานศึกษาและครูบาอาจารย์คือสถานที่และบุคคลที่มีส่วนในการบ่มเพาะขัดเกลา
สมาชิกของสังคม
สังคมจะเป็นอย่างไรส่วนหนึ่งขึ้นกับรูปแบบและวิธีการเรียนรู้และความ
สัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์
ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะการค้นคว้าตำราหรือว่ากิจกรรมการเรียนการสอนใน
ห้องเรียน
หากแต่หมายรวมถึงกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและสิ่งที่อยู่พ้น
ห้องเรียนออกไป

การเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของนักเรียน นิสิต

นักศึกษาโดยเฉพาะในช่วงเดือนเศษที่ผ่านมานับเป็นกระบวนการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์จริงนอกห้องเรียนที่สำคัญประการหนึ่งขณะเดียวกันก็เป็นการปฏิบัติ
ตามบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตยที่เคารพในสิทธิเสรีภาพ
และความเสมอภาคของบุคคล นักเรียน นิสิต
นักศึกษาเหล่านี้ไม่ได้ละเลยหน้าที่ในการเรียนรู้ของตนตามที่บางฝ่ายกล่าวหา
และขณะเดียวกันพวกเขาได้แสดงบทบาทในครรลองของสังคมประชาธิปไตยอย่างกล้าหาญ

เป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เพียงแต่จะ
สอดรับกับหลักการและทฤษฎีอันเป็นสากลหากแต่ยังสอดคล้องกับหลักกฎหมายที่นานา
อารยะประเทศให้การรับรองจะมีก็แต่เผด็จการที่หวาดกลัวเสรีภาพในการเรียนรู้
และการแสดงความเห็นต่างของพลเมืองเท่านั้นที่เห็นการเคลื่อนไหวของพวกเขา
เป็นสิ่งผิดหรือเป็นอันตรายจนกระทั่งต้องใช้อำนาจดิบหยาบและกฎหมายป่าเถื่อน
เข้ายับยั้งปราบปราม

ในฐานะครูบาอาจารย์ผู้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ที่มีต่อศิษย์และสังคม
พวกเราเห็นว่าการจับกุมคุมขังนักศึกษาจำนวน 14
คนด้วยข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นสิ่งไม่ชอบธรรมเพราะรัฐประหาร
ไม่มีความชอบธรรมตั้งแต่ต้น
จึงเรียกร้องให้ปล่อยตัวพวกเขาทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขและไม่ให้มีการตั้ง
ข้อหาหรือว่าดำเนินคดีกับพวกเขาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวดัง
กล่าว

ประการสำคัญ
พวกเราจะส่งเสริมและให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ประชาธิปไตยนอก
ห้องเรียนของนักศึกษาเหล่านี้ในรูปแบบและวิธีการต่างๆต่อไปจนกว่าจะสังคมไทย
จะกลายเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค

เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง

30 มิถุนายน 2558

รายชื่อผู้ร่วมลงนาม

แถลงการณ์จากเครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง ฉบับที่ 1

1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

2. กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

3. กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล ม.ธรรมศาสตร์

4. กฤษฎา บุญชัย คณะรัฐศาสตร์ ม.ราชภัฎมหาสารคาม

5. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

6. กิตติ วิสารกาญจน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ม.ศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

7. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

8. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

9. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

10. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ม.เชียงใหม่

11. กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

12. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

13. กฤษณ์พชร โสมณวัตร ม.เชียงใหม่

14. ขนิษฐา กีรติภัทรกาญจน์ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช

15. ขวัญชีวัน บัวแดง ม.เชียงใหม่

16. ขรรค์เพชร ชายทวีป คณะนิติศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

17. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

18. เคท ครั้งพิบูลย์

19. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

20. คงกฤช ไตรยวงค์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

21. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

22. คอลิด มิดำ คณะดนตรีและการแสดง ม.บูรพา

23. คำแหง วิสุทธางกูร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

24. จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

25. จิรธร สกุลวัฒนะ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

26. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

27. จิราภรณ์ สมิธ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

28. จิรสิริ เกษมสินธุ์ วิเวกเมธากร คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล

29. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

30. จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

31. จันทนี เจริญศรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

32. จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

33. จันทรา ธนะวัฒนวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

34. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

35. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ ม. มหิดล

36. ชานนท์ ไชยทองดี คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ

37. ชานันท์ ยอดหงส์

38. ชาญชัย ชัยสุขโกศล ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ม.มหิดล

39. ชาญณรงค์ บุญหนุน ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

40. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

41. ชินทาโร ฮารา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

42. ชัชวาล ปุญปัน อดีตอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่

43. ชัยพงษ์ สำเนียง สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่

44. ชัยวัฒน์ มีสันฐาน คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

45. เชษฐา ทรัพย์เย็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ธนบุรี

46. เชษฐา พวงหัตถ์ นักวิชาการอิสระ

47. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

48. ชำนาญ จันทร์เรือง

49. ไชยันต์ รัชชกูล

50. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

51. ซัมซู สาอุ วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

52. ณภัค เสรีรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

53. ณัฐกานต์ อัครพงษ์พิศักดิ์ ม.มหาสารคาม

54. ณัฐกร วิทิตานนท์ ม.เชียงใหม่

55. ณัฐนันท์ คุณมาศ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ

56. ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม

57. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

58. ฐิติรัตน์ สุวรรณสม ม.นเรศวร

59. ฐิติพงษ์ ด้วงคง คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

60. ฐิติชญาน์ ศรแก้ว คณะมนุษยศาสตร์ ม.นเรศวร

62. ฐานิดา บุญวรรโณ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร

63. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ ม.นเรศวร

64. ดารารัตน์ คำเป็ง คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.พะเยา

65. เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

66. เดชา ตั้งสีฟ้า คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

67. เดโชพล เหมนาไลย ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

68. ดำรงพล อินทร์จันทร์ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร

69. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

70. ตฤณ ไอยะรา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

71. ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

72. ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

73. ทิพสุดา ญาณาภิรัต ม.มหาสารคาม

74. ทับทิม ทับทิม

75. ทัศนัย เศรษฐเสรี สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ ม.เชียงใหม่

76. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

77. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล

78. ธนาวิ โชติประดิษฐ

79. ธนรรถวร จตุรงควาณิช คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

80. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ ภาควิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น

81. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

82. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์

83. ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ

84. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

85. ธิติญา เหล่าอัน คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏเลย

86. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

87. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

88. ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล

89. ธัญญธร สายปัญญา คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

90. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

91. นวัต เลิศแสวงกิจ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

92. นภิสา ไวฑูรเกียรติ ม.นเรศวร

93. นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

94. นภาพร อติวนิชยพงศ์ ม.ธรรมศาสตร์

95. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

96. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

97. นาตยา อยู่คง ภาควิชาสังคมศาสตร์ ม.ศิลปากร

98. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

99. นิธิ เนื่องจำนง ม.นเรศวร

100. นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์

101. เนตรดาว เถาถวิล สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

102. นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่

103. นพพร ขุนค้า รัฐประศาสนศาสตร์ ม.ราชภัฎราชนครินทร์

104. เนาวรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

105. นันทนุช อุดมละมุล คณะมนุษยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

106. บาหยัน อิ่มสำราญ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

107. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

108. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

109. บูรณจิตร แก้วศรีมล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

110. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

111. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

112. บัณฑูร ราชมณี คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

113. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล

114. แบ๊งค์ งามอรุณโชติ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์การศึกษาราชบุรี

115. ปฐม ตาคะนานันท์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง

116. ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

117. ปฐมพงศ์ มโนหาญ นวัตกรรมสังคม ม.แม่ฟ้าหลวง

118. ปิยชาติ สึงตี ม.วลัยลักษณ์

119. ปิยะมาศ ทัพมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

120. ปิง วิชัยดิษฐ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

121. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ม.เชียงใหม่

122. ประกาศ สว่างโชติ คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

123. ประทับจิต นีละไพจิตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล

124. ประภาส ปิ่นตบแต่ง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

125. ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร

126. ประยุทธ สายต่อเนื่อง

127. ปราโมทย์ ระวิน สาชาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

128. ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

129. ปรีดี หงษ์สต้น คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

130. ปุรินทร์ นาคสิงห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

131. ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

132. ปฤณ เทพนรินทร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

133. ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล

134. ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

135. พกุล แองเกอร์

136. พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์ Weatherhead East Asia Institute ม.โคลัมเบีย

137. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

138. พจนก กาญจนจันทร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

139. พนิดา อนันตนาคม คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

140. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

141. พิชญา พรรคทองสุข คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

142. พิชามญชุ์ ทิพยพัฒนกุล ม.วลัยลักษณ์

143. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

144. พิรงรอง รามสูตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

145. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

146. พิสิษฏ์ นาสี ม.เชียงใหม่

147. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

148. พิมพ์ปฏิมา นเรศศิริกุล สาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

149. พรณี เจริญสมจิตร์ เกษียณจากภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

150. พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

151. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

152. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

153. ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

154. ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ คณะดนตรีและการแสดง ม.บูรพา

155. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

156. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

157. เพียงกมล มานะรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

158. ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล

159. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏลำปาง

160. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักวิชาการอิสระ

161. มิกด๊าด วงศ์เสนาอารี คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

162. มิเชล ตัน คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

163. มูนีเราะฮ์ ยีดำ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

164. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

165. เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

166. มนวัธน์ พรหมรัตน์ ม. วลัยลักษณ์

167. มรกตวงศ์ ภูมิพลับ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

168. ยอดพล เทพสิทธา คณธนิติศาสตร์ ม.นเรศวร

169. รชฏ นุเสน ม.ราชภัฏเชียงใหม่

170. รชฎ สาตราวุธ ภาควิชาปรัชญา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

171. ราม ประสานศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

172. รัตนา โตสกุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

173. ลลิตา หาญวงษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม

174. วราภรณ์ เรืองศรี ม.เชียงใหม่

175. วศิน โกมุท คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

176. วศินรัฐ นวลศิริ คณะมนุษยศาสตร์ ม.นเรศวร

177. วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร

178. วัชรพล ศุภจักรวัฒนา ม.นเรศวร

179. วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

180. วาสนา ละอองปลิว ม.ธรรมศาสตร์

181. วิจักขณ์ พานิช

182. วิเชียร อินทะสี ม.นเรศวร

183. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

184. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

185. วิริยะ สว่างโชติ

186. วิภา ดาวมณี อดีตอาจารย์ วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์

187. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและสังคมวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

188. วิมลสิริ เหมทานนท์ วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล

189. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

190. วิลลา วิลัยทอง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

191. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏจันทรเกษม

192. วิศรุต พึ่งสุนทร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

193. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล ม.ธรรมศาสตร์

194. เวลา กัลหโสภา บริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่

195. วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่

196. วรรณวิภางคฺ์ มานะโชติพงษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

197. วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่

198. วรยุทธ ศรีวรกุล

199. เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์

200. เวียงรัฐ เนติโพธิ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ

201. ศักรินทร์ ณ น่าน

202. ศาสวัต บุญศรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ศิลปากร

203. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล

204. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ภาควิชาสื่อ ศิลปะ และการออกแบบ คณะวิจิตศิลป์ ม.เชียงใหม่

205. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

206. ศศิธร จันทโรทัย ม.นเรศวร

207. ศศิประภา จันทะวงศ์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม

209. ศุทธิกานต์ มีจั่น วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

210. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

211. โศภิต ชีวะพานิชย์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม

212. สักรินทร์ แซ่ภู่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ม.มหาสารคาม

213. สันติชัย ปรีชาบุญฤทธิ์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

214. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

215. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ม.ธรรมศาสตร์

216. สายชล สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

217. สายัณห์ แดงกลม คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร

218. สิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม. มหิดล

219. สิเรมอร อัศวพรหมธาดา รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

220. สถิตย์ ลีลาถาวรชัย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ ม.นเรศวร

221. สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

222. สุชาติ เศรษฐมาลินี สาขาวิชาสันติศึกษา ม.พายัพ

223. สุธาทิพย์ โมราลาย

224. สุภัทรา น.วรรณพิณ อดีตอาจารย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

225. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

226. สุธิดา วิมุตติโกศล คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

227. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

228. สุปรียา หวังพัชรพล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

229. สุรพศ ทวีศักดิ์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาหัวหิน

230. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ

231. สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

232. สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

233. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

234. สุวนันทน์ อินมณี ม.นเรศวร

235. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

236. สร้อยมาศ รุ่งมณี ม.ธรรมศาสตร์

237. สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ

238. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

239. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

240. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

241. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

242. อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

243. อนุสรณ์ ติปยานนท์ ม.เชียงใหม่

244. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

245. อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

246. อรุณี สัณฐิติวณิชย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

247. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

248. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

249. อภิญญา เวชยชัย คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

250. อภัยชนม์ สัจจะพัฒนกุล สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

251. อภิราดี จันทร์แสง ม.มหาสารคาม

252. อรัญญา ศิริผล ม.เชียงใหม่

253. อลิสา หะสาเมาะ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

254. อาจิณ โจนาธาน อาจิณกิจ มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฎราชนครินทร์

255. อาทิตย์ ทองอินทร์ ม.รังสิต

256. อาทิตย์ พงษ์พานิช ม.นเรศวร

257. อาทิตย์ ศรีจันทร์

258. อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่

259. อิทธิพล จึงวัฒนาวงค์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

260. อิสระ ชูศรี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล

261. อิสราภรณ์ พิศสะอาด ม.เชียงใหม่

262. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

263. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

264. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

265. เอกรินทร์ ต่วนศิริ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

266. เอกสุดา สิงห์ลำพอง คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร

267. เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์

268. อุเชนทร์ เชียงเสน หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

269. อุบลวรรณ มูลกัณฑา คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ

270. อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์

271. อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ ม.นเรศวร

272. อรภัคค รัฐผาไท อดีตอาจารย์คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.เชียงใหม่

273. อรอนงค์ ทิพย์พิมล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

274. อัจฉราวรรณ บุรีภักดี สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม ม.เทคโนโลยีสุรนารี

275. อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ ม.นเรศวร

276. อันธิฌา แสงชัย ภาควิชาปรัชญาและศาสนา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

277. อัมพร หมาดเด็น สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

278. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

279. อรรถพล อนันตวรสกุล ครุศาสตร์ จุฬาฯ

280. อนรรฆ สมพงษ์ ครุศาสตร์ ม.ราชภัฏสกลนคร

281. Philip Hirsch, Department of Human Geography, U. of Sydney








Wednesday, June 24, 2015

PIANGDIN ACADEMY: ประเทศไทยในฝัน ยุคประชาพาไป ควรมีหน้าตาอย่างไร? ด...




วิสัยทัศน์ ดร.เพียงดิน รักไทย ว่าด้วย เป้าหมายการเปลี่ยนระบอบ  15 ข้อ



(20 มกราคม 2558)

http://youtu.be/Np_5yG9sh0Y





"เป้าหมายการปฏิวัติแบบ มดแดงล้มช้าง ราษฎรเสรีไทย"

โดย ดร.เพียงดิน รักไทย

First Draft (January 21, 2015)

ขอให้พี่น้องที่สนใจ ร่วมแต่งเติม วิพากษ์ และแสดงความเห็นได้เต็มที่ครับ



ขอนั่งคิดดัง ๆ เรื่องทิศทางข้างหน้านะครับ ขบวนปฏิวัติในใจผม จะมีเป้าหมายระดับต่าง ๆ ปน ๆ กันดังนี้ และเมื่อกรอบยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ เหล่านี้ เข้าที่เข้าทางแล้ว ก็จะมีการจัดการเพื่อให้เกิดผลทั้งในภาวะปัจจุบัน ระยะการเปลี่ยนอำนาจ ระยะเปลี่ยนผ่าน และการวางรากฐานถาวรต่อไป



หนึ่ง กำจัดอำนาจกษัตริย์ที่ยุ่งกับการเมืองการปกครองอย่างสิ้นเชิง หากยอมอยู่แบบอังกฤษหรือญี่ปุ่น (ควรจะน้อยกว่าด้วย) ไม่ได้ ก็ไม่ต้องมีสถาบันกษัตริย์ การปกครองจะไม่ใช่ Constitutional Monarchy แต่จะเป็น People's Democratic State หรือ Republic เท่านั้น ไม่มีสร้อย



สอง อำนาจกษัตริย์ที่มีอยู่ในเชิงเศรษฐกิจ การทหาร การปกครอง วัฒนธรรม การศึกษา ศาสนา และอื่น ๆ จะต้องถูกตัดออกให้สิ้น ยกตัวอย่าง เช่น ทรัพย์สินที่มีอยู่จะต้องตกเป็นของแผ่นดิน จะเอาไปเป็นของส่วนตัวไม่ได้ การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ทุกระดับ จะต้องถูกดึงมาเป็นของหน่วยงานรัฐ ที่ให้ผลประโยชน์คืนกลับเป็นเงินภาษีอากรของประชาชให้หมด โดยการกินอยู่ จะมีการจัดการให้สมกับฐานะ และต้องตัดองคมนตรี และข้ารับใช้ที่รกรุงรังออกไปให้หมด โครงการหลวงต่าง ๆ จะต้องถูกถ่ายโอนไปให้ตัวแทนฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อไป ฯลฯ



สาม การรัฐประหารจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้ และจะต้องไม่มีการนิรโทษกรรมได้อีก โทษของผู้ก่อการและสนับสนุน จะต้องสูงถึงขั้นประหารชีวิต และรัฐบาลเฉพาะกิจจะลงสัตยาบันรับธรรมนูญกรุงโรม เพื่อรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศโดยด่วนทันที



สี่ สัมปทานน้ำมันและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จะต้องถูกเรียกคืนและพิจารณาใหม่ทั้งหมด หากต้องจ่ายชดเชยคืนก็ทำไป เพื่อให้สัปทานต่าง ๆ ผ่านขั้นตอนโดยตัวแทนของประชาชน ที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแห่งชาติจะเป็นผู้พิจารณาขั้นตอนการดำเนินงานและการตัดสินผลประโยชน์เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศชาติ



ห้า จะต้องมีการปฏิวัติวัฒนธรรม ศาสนา และการศึกษาขนานใหญ่ เพื่อให้ความงมงายและความเป็นไทยที่เป็นพิษที่ซ่อนอยู่ในสังคมไทยถูกถอนออกไปให้หมด เพื่อให้พลเมืองไทยยกระดับเป็นอารยชน และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนให้สูงสุด เพื่อแข่งขันและอยู่ร่วมกับชาวโลกอย่างสันติสุขและก้าวหน้าอย่างดีที่สุด



หก ที่ดินและการจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้าที่คนรวยทรัพย์สินเงินทอง จะต้องเสียภาษีให้มาก จะต้องถูกปฏิวัติใหม่ เพื่อให้เกิดการกระจายพื้นฐานการผลิตและโอกาสในการสร้างความมั่งคั่งให้กับปัจเจกชนและชาติโดยรวม คนทั่วประเทศจะต้องอยู่ดีกินดี ให้สมกับการเป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์บนชัยภูมิที่ได้เปรียบ



เจ็ด โครงการต่าง ๆ ที่รัฐบาลเผด็จการศักดินาราชาธิปไตยได้ทำไว้ จะถูกแขวนไว้ทั้งหมด แล้วจัดให้มีการเจรจาใหม่ทั้งหมด เพื่อหาทางแก้ไขการเสียเปรียบและดำเนินการใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ



แปด จะพัฒนาการศึกษาไทย เพื่อเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาโลก โดยยกเอาความสำเร็จของประเทศที่ได้กำไรจากการเป็นศูนย์กลางการศึกษาเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย เป็นต้น เป้าหมายระยะสั้น ภายในห้าปี ประเทศไทยจะต้องมีดัชนีด้านการศึกษาเป็นสามอันดับต้นของอาเซี่ยน



เก้า สังคมไทยจะต้องถูกปฏิวัติให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมเปิดเพื่อการเข้าใจสังคมเพื่อบ้านและสังคมโลก การเคารพหลักสิทธิมนุษยชน และการประยุกต์สังคมพุทธและจุดแข็งของสังคมไทย ให้เข้ากับหลักสากล โดยมีการศึกษาวิจัยแล้วกำหนดเป็นเป้าหมายเชิงคุณภาพของพลเมืองไทยอย่างชัดเจน เพื่อเป็นวาระแห่งชาติ แล้วใช้ทุกปัจจัยทุ่มพัฒนาให้เกิดผลที่จับต้องได้ในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว



สิบ หลักการประชาธิปไตยแบบสากล จะต้องถูกนำมาเป็นเสาหลักของประเทศชาติ สืบทอดไปถึงลูกหลานอย่างสมบูรณ์แบบ การให้การศึกษาแก่พลเมืองทุกหมู่เหล่า ถึงผลดีของการเป็นสังคมประชาธิปไตยและหน้าที่ที่ประชาชนจักพึงมี และอื่น ๆ จะต้องทำอย่างเป็นระบบ สิ่งที่ผ่านมาจะต้องถูกนำมาสรุปเป็นบทเรียน เพื่อให้การปฏิวัติเกิดผลอย่างเด็ดขาด ไม่ให้วงจรอุบาทว์กลับมาทำร้ายประเทศไทยได้อีก



สิบเอ็ด การจัดการกับคอรัปชั่นจะต้องทำอย่างจริงจัง โดยประชาชนจะต้องมีบทบาทในการร่วกำกับอย่างเป็นแก่นสาร ระบบราชการทั้งพลเรือน ทหารตำรวจ และการเมือง จะต้องถูกปฏิวัติเพื่อตัดกลไกการคอรัปชั่นอย่างถึงรากถึงโคน



สิบสอง ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่เน้นการค้าขายและร่วมมือกับทุกประเทศ การให้เกียรติและปกป้องมิตรประเทศให้ทำมาหากินอย่างมั่นใจจะถือเป็นภารกิจสำคัญ โดยไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบใคร



สิบสาม ประเทศไทยจะต้องวางเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการค้าและบริการ การแพทย์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและส่งเสริมธรรมชาติ การเป็นครัวโลก การสร้างศูนย์ดูแลผู้สูงวัย ฯลฯ โดยจะต้องทุ่มทุนให้กับการวิจัยและการวางแผนเพื่อความเป็นเลิศในทุกด้าน เพื่อต่อยอดจุดแข็งทุกจุดของชาติ



สิบสี่ จะต้องมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการลงทุนด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง โดยเป้าหมายคือการเพิ่มมูลค่าจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้งบประมาณการบริหารประเทศไทยต้องเพิ่มเป็นสองเท่าของงบประจำปีปัจจุบัน คืออย่างน้อย ต้องมีเงินบริหารประเทศปีละ 4 ล้านล้านบาทเป็นเบื้องต้น ในเวลาไม่เกินสองปี



สิบห้า เมื่อคณะปฏิวัติประชาชนได้อำนาจมาแล้ว จะต้องนิรโทษกรรมคนไทยทุกหมู่เหล่า โดยอาศัยประชามติของประชาชนไทย หลังจากที่มีการตัดสินอย่างเป็นธรรมแล้ว และผู้กระทำความผิดได้แสดงออกอย่างชัดเจนในที่สาธารณะแล้วว่า สำนึกผิดแล้ว และคณะปฏิวัติจะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมและอนุมัติกรอบการบริหารประเทศร่วมกันโดยเร็วภายในไม่เกินสองปี และจะต้องให้ทุกเรื่องเข้าที่เข้าทางและมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนถาวรเพื่อเป็นเสาหลักที่มั่นคงในที่สุด



นอกเหนือจากนี้ ควรให้ประชาชนที่เป็นแนวร่วมการปฏิวัติเปลี่ยนระบอบ ได้มีส่วนร่วมรับรู้และปรับปรุงหรือแต่งเติมเป้าหมายการปฏิวัติข้างบนให้มากที่สุดนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป




Tuesday, June 23, 2015

แถลงการณ์องค์การเสรีไทย 24 มิถุนายน 2558 โดย คุณจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ

แถลงการณ์องค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในวาระครบ ๑ ปีของการก่อตั้งองค์กร วันพุธที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๘...

Posted by จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ on Tuesday, June 23, 2015

ลุงสมชายตายแล้ว...หรือยัง

ลุงสมชายตายแล้ว...หรือยัง
ฟังสองนักคิดเสรูและส.ศิวลึงค์เปิดประเด็นเรื่องการตายของลุงสมชายรวมถึงแนวโน้มอนาคตประเทศและระบอบสมชาย
http://youtu.be/nBOUOWoPOiY
http://www.4shared.com/mp3/jwmP7omAce/The_Three__24_The_Death_of_Som.html
http://www.mediafire.com/listen/9wf7g7i537rwafb/The+Three+%23+24+The+Death+of+Somchai.mp3




ประยุทธ์ สารภาพบาป ไม่มีปัญญาแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ฯลฯ (รู้แล้วน่ะ)

นายกฯ พูดถึงปัญหาภัยแล้งแก้ไม่ได้ รัฐบาลไหนก็แก้ไม่ได้ ผมก็ยอมรับว่าแก้ไม่ได้ " ถ้าทุกคนมาเอาทุกอย่างในเวลาเดียวกันทั้...

Posted by Smart SME on Friday, June 19, 2015

อ.นิธิประทะดาวดิน ที่ นาหนองบง จ.เลย



Download








★แถลงการณ์องค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ในวาระครบ 1 ปีของการก่อตั้งองค์การ

★สารจากกองอำนวยข่าวกลางองค์การเสรีไทย

ในโอกาสก้าวขึ้นปีที่2ของการจัดตั้งองค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย,ตลอดระยะเวลา1ปีของการต่อต้านระบอบเผด็จการโบราณคสช.ด้วยรูปการต่างๆในสถานการณ์ขั้นรับ,องค์การเสรีไทยได้จัดตั้งหน่วยงานด้านการข่าวนี้ขึ้นเพื่อประสานงานด้านข่าวสารและนำเสนอข่าวความจริงที่ในประเทศไทยไม่อาจเผยแพร่ได้โดยส่งข่าวให้แก่ประชาชนทั้งในและนอกประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้จะมีอุปสรรคในระยะแรกเนื่องจากประชาชนหวาดกลัวต่อการข่มขู่ของพวกมันแต่ด้วยจิตสำนึกและความกล้าหาญของมวลชนการส่งข่าวขององค์การเสรีไทยฯก็ได้ฝ่าวงล้อมเข้าในประเทศได้อย่างปิดลับและมีการจัดตั้งโดยพวกมันยากที่จะข้ดขวางได้,ข่าวสารคืออาวุธสำคัญในขั้นต้นที่จะทำลายการหลอกลวงของพวกเผด็จการและจะนำไปสู่การต่อต้านทางปฏิบัติการทุกรูปแบบเมื่อถึงพร้อม,ต้องขอขอบพระคุณพี่น้องประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการประสานงานการกระจายข่าวมาณ.โอกาสนี้

การก้าวขึ้นปีที่2นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ได้ยกระดับการชี้เป้าปัญหาที่แจ่มชัดเพื่อสร้างรูปการจิตสำนึกร่วมกันในการก้าวเดินสู่ระบอบประชาธิปไตยประชาชชนคือภูเขา3ลูกที่ต้องขุดโค่นและปรับเปลี่ยนได้แก่คณะองคมนตรี,กองทัพและศาลดังรายละเอียดข้างท้ายนี้ซึ่งถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์สำคัญที่องค์การเสรีไทยนำเสนอต่อสาธารณะครั้งแรกอย่างเป็นทางการเพื่อขอมติมหาชนร่วมกันในการดำเนินการขั้นต่อไป

ดารณี รวีโชติ
ผอ.กอท.เสรีไทย
24มิถุนายน2558

★แถลงการณ์องค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ในวาระครบ 1 ปีของการก่อตั้งองค์การ


พิณซิ่ง - น้องอร อรณิชา



Download




ความจริงเกี่ยวกับคลิปทักษิณจาบจ้วง แท้จริงถูกตัดต่อ

Posted by รวมคลิปเด็ด V.2 on Sunday, June 21, 2015








คลิปดร.ทักษิณ หมิ่นในหลวง (ความจริง)

ความจริงเกี่ยวกับคลิปทักษิณจาบจ้วง แท้จริงถูกตัดต่อ

Posted by รวมคลิปเด็ด V.2 on Sunday, June 21, 2015

ทางออกประเทศไทย อ.ชูพงษ์-ดร.เพียงดิน ตอน "เจ้าไปทำอะไรให้พวกเอ็ง?" ทำไมจองหมิ่น จ้องล้มพระองค์ท่าน?" แถมด้วยบทวิพากษ์ รัฐธรรมนูญนิยมและการสร้างปชต.ด้วยอำนาจกษัตริย์

ทางออกประเทศไทย อ.ชูพงษ์-ดร.เพียงดิน ตอน "เจ้าไปทำอะไรให้พวกเอ็ง?" ทำไมจองหมิ่น จ้องล้มพระองค์ท่าน?" แถมด้วยบทวิพากษ์ รัฐธรรมนูญนิยมและการสร้างปชต.ด้วยอำนาจกษัตริย์
ทางออกประเทศไทย อ.ชูพงษ์-ดร.เพียงดิน ตอน "เจ้าไปทำอะไรให้พวกเอ็ง?" ทำไมจองหมิ่น จ้องล้มพระองค์ท่าน?" แถมด้วยบทวิพากษ์ รัฐธรรมนูญนิยมและการสร้างปชต.ด้วยอำนาจกษัตริย์

Monday, June 22, 2015

ชีวิตอันแสนหดหู่ ของ ตั้ง อาชีวะ ในแดนกีวี (ฮา)

"ตั้ง อาชีวะ" โพสต์ภาพ-คลิป โชว์พาสปอร์ต ชีวิตสบายอยู่นิวซีแลนด์(22 ธ.ค. 2557)

Posted by เสรีไทย ยูเอสเอ - Seri Thai USA on Monday, June 22, 2015

รองโฆษกรัฐบาล ย้ำ ต้องดำเนินการกับกลุ่มดาวดิน



Download








คนสมัครปธน.สหรัฐฯมีเกือบ 400 คน



Download








เมื่อ นายสุลักษณ์ ศิวลักษณ์ ได้รับจดหมายเตือน จากบุคคลนิรนาม










Download

คนเคาะข่าว เปิดบ่อนคาสิโน ได้-เสีย ใครคุ้ม ? ช่วงที่1 22/06/2015



Download








Ethiopian ruling party wins all parliamentary seats



Download



















เอาไง ... เอากัน



Download


Download









News Hour ทางแห่งความเสื่อม! เปิดหนังสือ “อานันท์” ถึง “ทักษิณ” ช่วงที่3...



Download










ทางออกประเทศไทย (เมื่อหลวงตาชูพงษ์ ติดฝน) จะเลี่ยงการนองเลือดได้ไหม? โดย ดร.เพียงดิน รักไทย 22 มิ.ย. 2558

ทางออกประเทศไทย (เมื่อหลวงตาชูพงษ์ ติดฝน) จะเลี่ยงการนองเลือดได้ไหม? โดย ดร.เพียงดิน รักไทย 22 มิ.ย. 2558

Sunday, June 21, 2015

ดร.เพียงดิน รักไทย 2015-06-22- ตอน สบาย ๆ วันพ่อ & "มดแดงเบบี้" หรือจะสู...

ดร.เพียงดิน รักไทย 2015-06-22- ตอน สบาย ๆ วันพ่อ & "มดแดงเบบี้" หรือจะสู้ "พญาช้างสาร" ได้?




Download








จากประวัติศาสตร์เมืองลังกาสุกะ มาถึงปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

 
บทความโดย มั้ง ทับละมุ
ขอบคุณท่านธ..ไกร 


หลังจาก วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ ในเหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายกรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ กองพันทหารพัฒนาที่ ๔ บ้านปิเหล็ง ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาสจนเป็นเหตุให้รัฐบาลหันมาสนใจปัญหาชายแดนภาคใต้ ที่แต่เดิมนั้นเข้าใจ ว่าเป็นฝีมือโจรกระจอก ยิ่งเกิดเหตุหลั่งเลือดสู้ตายของเหล่าเยาวชนที่ถืออาวุธ มีด ดาบ และมือเปล่ารวมถึงปืนจำนวนเล็กน้อย เข้าต่อกรกับทหาร ตำรวจ อาวุธครบมือ ถ้าพิจารณา ในทางการทหารแล้วเห็นว่าคนทั้งหมดทั้งอ่อนหัด อ่อนด้อย ที่เปิดฉากโจมตี กองกำลัง ของรัฐบาล ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ ตามข่าวครึกโครม เป็นเหตุให้ขบวนการพูโล ใช้เหตุการณ์ดังกล่าวมาประโคมข่าวและยกให้เหตุการณ์ ๑๒ จุดใน ๑๐ อำเภอ ของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ปัตตานี ยะลา และสงขลา ที่สำคัญในเหตุการณ์ ที่มัสยิดกรือเซะ มายกย่องความกล้าหาญของคนเหล่านั้นว่าเป็นการเสียสละเพื่อชาติรัฐ ที่เขา ภาคภูมิใจเป็นนักเป็นหนามีการตั้งคำถามอย่างกว้างขวางว่าอะไรดลใจหรือชักนำ ให้พวกเขา ก่อการเช่นนั้น ความภาคภูมิใจในถิ่นเกิดของเขาหรือที่ทำให้เขาเหล่านั้นเอาชีวิตมาทิ้งไว้ใน สถานที่ที่เขาเชื่อว่าใกล้ชิดพระเจ้าที่สุดนั้นหรือ และ เพื่ออะไร ลองมาดูประวัติของเมือง ลังกาสุกะ จนถึงเมืองปัตตานี แล้วหาคำตอบว่าเป็นอย่างนั้นหรือไม่

        ผู้เขียนได้รวบรวมประวัติศาสตร์ดินแดนที่เรียกว่าเมืองลังกาสุกะหรือปัตตานีในปัจจุบัน ตามที่ได้รับการบอกเล่าและค้นหาจากอินเทอร์เน็ตรวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ตลอดจน วิทยานิพนธ์มี ๕ แหล่งที่มาด้วยกัน ดังนี้ ในส่วนที่มาแรกมีรายละเอียดดังนี้ ดินแดน จังหวัด ชายแดนภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย ราว ๗๐๐ ปีมาแล้ว ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๑๗๓๗ ได้เรียกชื่อหัวเมืองชายแดนภาคใต้ว่า หัวเมืองมลายู ประกอบด้วย เมืองไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปัตตานี รวมถึงยะลาและนราธิวาสตามหลักฐานที่ ปรากฏ ในหลักศิลาจารึกกล่าวไว้ว่า พ่อขุนรามคำแหง แผ่ขยายอิทธิพลไปจนถึงดินแดนแหลมมลายู ตั้งแต่เมืองไชยาไปจนถึงสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๐ แต่ความสัมพันธ์เป็น ไปในลักษณะ ที่ปัตตานี (หัวเมืองมลายู) มีฐานะเป็นประเทศราช จนถึง พ.ศ.๒๓๑๐ สมัยกรุงศรีอยุธยาไทย ได้เสียกรุงให้แก่พม่า หัวเมืองมลายูจึงถือโอกาสตั้งตนเป็นเอกราชจนถึง พ.ศ.๒๓๒๘ ยุคต้น กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทยกทัพไปตี เมืองปัตตานีและรวบรวมหัวเมืองทางใต้ ทั้ง๔ มาอยู่ในความปกครองอีกครั้ง ได้กวาดต้อน ครอบครัวและเครื่องศาสตราวุธ รวมทั้งปืนใหญ่ที่เรียกว่า นางพระยาตานี มาไว้ที่กรุงเทพ ฯ และได้ตั้ง ตวนกู รามิดิน เชื้อสายเจ้าเมืองปัตตานีขึ้นเป็นรายาปัตตานี โดยให้ปกครองแบบ อิสระ เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการให้ ๓ ปีต่อครั้ง หากไม่ส่งถือว่าเป็น กบฏจัดความรับ ผิดชอบเป็นขั้นตอน โดยให้เมืองนครศรีธรรมราชควบคุมดูแลไทรบุรี กลันตัน และเมืองสงขลา 
ควบคุมดูแล ปัตตานี ตรังกานู ต่อมาตวนกู รามิดิน (เชื้อสายสุลต่านเมืองปัตตานี) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ขณะนั้นเกิดความไม่พอใจที่ต้องขึ้นต่อเมือง สงขลาจึงแข็งข้อได้ชักชวนองค์เชียงสือ กษัตริย์ญวนให้ยกทัพมาตีไทยแต่ถูกปฏิเสธจึงหัน ไปคบกับโต๊ะสาเหยด (มาจากอินเดีย) ก่อการกบฏยกทัพปัตตานีไปตีเมืองสงขลาแตก

      ปี พ.ศ.๒๓๓๔ ทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ ร่วมกับกองทัพนครศรีธรรมราช เข้าทำการ ปราบปรามยึดคืนมาได้ พระยาเมืองสงขลาจึงยกทัพไปตีเมืองปัตตานีได้ดังเดิมหลักจาก นั้นรัชกาลที่ ๑ จึงแยกเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง เพื่อลิดรอนกำลังไม่ให้เกิดการ แข็งข้อขึ้นอีก โดยแบ่งออกเป็น เมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี (รวมบางนราด้วย) ยะลา รามัน และระแงะ โดยให้ข้าราชการไทยกับชาวมลายูที่มีความจงรักภักดีเป็นเจ้าเมืองทั้ง ๗ มีอิสระขึ้นตรงต่อเมืองสงขลา ส่วนเมืองปัตตานีซึ่งเป็นหัวเมืองเก่าศูนย์กลางของเมืองทั้ง ๗ และได้ก่อความยุ่งยากมาตลอดจึงเปลี่ยนผู้ปกครองใหม่เป็นคนไทย โดยแต่งตั้งให้ปลัดเมือง จะนะเป็นผู้ปกครอง สำหรับเมืองสงขลาได้รับการเลื่อนฐานะเป็นหัวเมืองเอก ขึ้นต่อกรุงเทพ ฯ โดยตรงมีอำนาจควบคุมหัวเมืองทั้ง ๗ รวมทั้งกลันตันและตรังกานูด้วยส่วนเมือง นครศรีธรรมราชให้ควบคุมเฉพาะเมืองไทรบุรีซึ่งอยู่ฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่แล้วเหตุการณ์จึงสงบมาโดยตลอดจนถึงเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๔ สมัยรัชกาลที่ ๓ เมืองไทรบุร ีทำการกบฏ ๒ ครั้งแต่ปราบง่ายไม่รุนแรง จึงมีความสงบเรียบร้อยมาจนตลอดรัชกาลที่ ๔

      ในสมัยรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๔๐) ได้ทรงปรับปรุงระบบการปกครองใหม่โดยเปลี่ยนฐานะ จากประเทศราชมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทยในรูปมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งเรียกว่า พระราช บัญญัติลักษณะการปกครองท้องถิ่น ร.ศ.๑๑๖ ได้ทดลองใช้มาจนถึง ๑๐ ธ.ค.๒๔๔๔ จึงประกาศใช้กับ ๗ หัวเมืองใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกว่า ข้อบังคับสำหรับ ๗ หัวเมือง ร.ศ.๑๒๐ โดยรวมเป็นบริเวณเรียกว่า บริเวณ ๗ หัวเมืองอิสลามปักษ์ใต ลักษณะการปกครอง แบบเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีพระยาเมือง ปลัดเมืองและยกกระบัตรเมือง ขึ้นกับข้าหลวง การ เก็บภาษีส่งพนักงานสรรพากรไปเก็บ แบ่งรายได้ให้เป็นเงินเดือน กับพระยาเมืองการตัดสิน คดีความ ส่งผู้พิพากษาไปตัดสิน
 ระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนี้ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจขึ้นแก่ผู้ปกครองเดิมของ ทั้ง ๗ หัวเมือง เพราะอำนาจการปกครองถูกโอนให้ไปขึ้นต่อกรุงเทพ ฯ โดยตรงทำให้ พระยาเมืองเชื้อสายมลายูเกิดความไม่พอใจ โดยเฉพาะ ตวนกูอับดุลกาเดร์ บิน ตวนกู กอมารุดดิน (พระยาวิชิตภักดี) พระยาเมืองปัตตานี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ และมีความคิดอยากจะเป็นใหญ่อยู่แล้วไม่พอใจเป็นอย่างมากเพราะเห็นว่าถูกลิดรอนอำนาจ และอิทธิพลลงไป

      ใน พ.ศ.๒๔๔๔ ตวนกูอับดุลกาเดร์ (พระยาวิชิตภักดี) เริ่มก่อความกระด้างกระเดื่อง โดยขอความร่วมมือพระยาเมืองระแงะ สายบุรี และรามัน ที่มีเชื้อสายเป็นชาวมลายูพร้อม กับทำหนังสือร้องเรียนไปยังข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำสหพันธ์รัฐ มลายูในสิงคโปร์ว่าไทย รังแกประชาชนปัตตานี รัชกาลที่ ๕ จึงให้จับกุมตัวฐานกบฏถอดยศส่งไปจองจำที่จังหวัด พิษณุโลกมีกำหนด ๑๐ ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ตวนกูอับดุลกาเดร์ขอถวายฎีกา รับผิดและสัญญาว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางการเมืองอีก จึงได้รับอภัยโทษแล้วเดินทางกลับ ปัตตานีชาวไทยมุสลิม ระดับหะยี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน ประมาณ ๕๐๐ คน ได้นั่งเรือ ๘๐ ลำ ไปรับที่ปากน้ำปัตตานี

       สมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๔๙ ได้ทรงยุบเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองทั้ง ๗ เหลือไว้ ๔ หัวเมือง คือปัตตานียะลา สายบุรี และนราธิวาส สำหรับตวนกูอับดุลกาเดร์ พ.ศ.๒๔๕๕ ได้ยื่น เรื่องขอรับเบี้ยหวัดย้อนหลัง แต่ไม่ได้รับการพิจารณาเพราะถือว่าเป็นกบฏต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ได้ยื่นเรื่อง ขอครอบครองที่ดิน จำนวน ๖๐๐ แปลงอีก โดยอ้างว่าเป็นมรดก ศาลตัดสินว่าเป็นทรัพย์สินแผ่นดิน สร้างความโกรธแค้นให้แก่ตวนกูอับดุลกาเดร์เป็นอย่างมาก 
จึงได้วางแผนร่วมกับพรรคพวกล่อลวงข้าราชการไทยไปสังหารหมู่ที่บ้านพักเพื่อปิดสถาน ที่ ราชการแต่ความแตกเสียก่อน รัชกาลที่ ๖ ทรงทราบเรื่องจึงให้ทหารจาก นครศรีธรรมราช ไปจับกุมตัวตวนกูอับดุลกาเดร์ไหวตัวทันจึงอพยพครอบครัวหนีไปอยู่ ที่รัฐกลันตันประเทศ มาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความปกครองของอังกฤษแล้ว และอาศัยอยู่จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ อย่างไรก็ดี แนวความคิดในการต่อสู้แบ่งแยกดินแดนหรือเพื่อความเป็นตัวของ ตัวเองยังมีผู้รับสืบทอดต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน และขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) ได้ยกย่อง ว่าเป็นวีรบุรุษ ต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนให้ชาวไทยมุสลิม

    การปฏิรูปและขยายอำนาจการปกครองของไทยไปทางตอนเหนือของแหลมมลายู ทำให้เกิด การเผชิญหน้ากับอังกฤษซึ่งแผ่อิทธิพลมาจากทางตอนใต้ของแหลมมลาย เช่นเดียวกันในที่ สุด ได้มีการทำสนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๒ โดยไทยยอมโอนอำนาจอธิปไตยเหนือรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส รวมทั้งเกาะ ใกล้เคียง ให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของอังกฤษขณะเดียว กันอังกฤษก็ยอมรับอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือดินแดนบริเวณพรมแดนไทย - มาเลเซีย ในปัจจุบันโดยสรุปจะเห็นได้ว่า นโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ก็คือ การพยายามควบคุมไม่ให้ดินแดนในบริเวณนี้มีอำนาจ กล้าแข็งจนกระทั่งสามารถดำเนินการแบ่งแยกตัวเองให้เป็นอิสระต่อการปกครองของไทย ซึ่ง ในระยะหลังก็ได้ใช้วิธีการแบ่งแยกแล้วปกครอง (Divide and Rule) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังไม่มีนโยบาย ที่แน่ชัดเกี่ยวกับชาวไทยเชื้อสายมลายูที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ ในฐานะชนกลุ่มน้อยในสังคมไทย โดยเฉพาะ การเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่วัฒนธรรมแม้ว่า นโยบายการสร้างชาติ (nation building) จะได้เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ แล้วก็ตาม

     ในรัชกาสที่ ๖ นโยบายที่พอมีอยู่ก็เป็นไปในลักษณะผสมผสาน (Integration) โดยทรงวางหลักรัฐประศาสโนบายซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ วางไว้สำหรับปฏิบัติราชการ ในมณฑลปัตตานี ซึ่งเป็นเพียงแนวปฏิบัติตนของข้าราชการในการปกครองเท่านั้นสำหรับการ ศึกษาภาคบังคับที่ทรงกำหนดขึ้น มัสยิดบางแห่งในมณฑลปัตตานีก็ได้รับการขอร้องให้สอน หลักสูตรภาษาไทย พร้อมกับหลักสูตรศาสนาแต่ก็ไม่เป็นการปฏิบัติที่กว้างและได้ผลเท่าใดนัก

       พ.ศ.๒๔๗๔ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด ฯให้ยกเลิก มณฑลปัตตานี และให้โอนการปกครองไปรวมกับมณฑลนครศรีธรรมราชตามเดิมและยุบ เมืองสายบุรีลงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานีและภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีการยกเลิกระเบียบการปกครองแบบมณฑล
มาใช้พระราชบัญญัติว่าด้วย ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๔๗๖ ซึ่ง จัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางเป็นกระทรวงหรือทบวงการเมือง ราชการบริหารส่วน ภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นเทศบาลและสุขาภิบาล

      ด้วยสนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษ พ.ศ.๒๔๕๒ และพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบ ราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๔๗๖ ทำให้การปกครองพื้นที่บริเวณ นี้ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และรวมถึง สตูล ได้กลายมาเป็นหน่วยการปกครองที่มีฐานะเช่น เดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งมักเรียกกันว่า สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนกระทั่งพ.ศ.๒๕๐๖ คณะรัฐมนตรีมีมติให้เรียกชื่อใหม่ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะพิจารณาเห็นว่าคำเรียก เดิม ก่อให้เกิดการแตกแยกและให้รวมจังหวัดสงขลาเข้าไปด้วย

      ในช่วงหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง         ของคณะราษฎร์ทำให้ผู้นำชาวมุสลิมใน จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายคนเริ่มมีความหวังว่า ภายใต้ระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย พวกเขาจะสามารถรักษาและประคับประคองไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของสังคมตนดังจะ เห็นได้ว่าภายหลังการปฏิวัติผู้นำในการแบ่งแยกดินแดนคนหนึ่ง คือ ตวนกู มะไฮยิดดิน ได้เดิน ทางกลับจากการลี้ภัยทางการเมืองโดยใช้เหตุผลว่าเพราะว่า มีรัฐธรรมนูญแล้วส่วนผู้นำคนอื่น ๆ ก็มีความหวังว่าอำนาจที่พวกตนเคยเสียไปเมื่อคราวปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕ อาจ จะได้คืนมาใหม่โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ดังจะเห็นได้จากการเข้าต่อสู้ทางการเมืองใน การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ และ ๒๔๘๐ อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายมลายูมุสลิม โดยทั่วไป ยังไม่มีความกระตือรือร้นทางการเมืองเท่าใดนัก

       หลังจาก ตวนกูอับดุลกาเดร์ถึงแก่กรรมแล้ว ตวนกู มะไฮยิดดิน บุตรชาย คนที่ ๗ ก็เข้ารับแผนงานต่อจากบิดา โดยไปเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่กรุงเทพ ฯ ถูกเพื่อนล้อเลียน ว่าเป็นลูกกบฏ จึงไปเรียนต่อที่เกาะปีนัง และออกรับราชการแผนกการศึกษารัฐกลันตัน พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้หลบหนีไปอยู่อินเดียและสมัครเป็น ทหารอังกฤษได้ยศพันโท เป็นผู้รวบรวมสมาชิกตั้งขบวนการขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นที่ยึดครอง มลายา ชื่อว่า ขบวนการมุสลิมหนุ่มแห่งกลันตัน ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ และได้ส่ง เงินไปช่วยเหลือชาวไทยมุสลิม ๓,๐๐๐ คน ที่ตกค้างอยู่ในเมกกะ เพราะสงคราม เมื่อสงครามสงบบุคคลเหล่านี้กลับมาแล้ว จึงได้ยกย่องนับถือตวนกูมะไฮยิดดินเป็นมันสมอง ทำให้ ขจก. เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดในทุกจังหวัดที่มี
ชาวมลายูมุสลิมมากพอสมควร ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด ๒๖ จังหวัด
ระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนี้ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจขึ้นแก่ผู้ปกครองเดิมของ ทั้ง ๗ หัวเมือง เพราะอำนาจการปกครองถูกโอนให้ไปขึ้นต่อกรุงเทพ ฯ โดยตรงทำให้ พระยาเมืองเชื้อสายมลายูเกิดความไม่พอใจ โดยเฉพาะ ตวนกูอับดุลกาเดร์ บิน ตวนกู กอมารุดดิน (พระยาวิชิตภักดี) พระยาเมืองปัตตานี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ และมีความคิดอยากจะเป็นใหญ่อยู่แล้วไม่พอใจเป็นอย่างมากเพราะเห็นว่าถูกลิดรอนอำนาจ และอิทธิพลลงไป

      ใน พ.ศ.๒๔๔๔ ตวนกูอับดุลกาเดร์ (พระยาวิชิตภักดี) เริ่มก่อความกระด้างกระเดื่อง โดยขอความร่วมมือพระยาเมืองระแงะ สายบุรี และรามัน ที่มีเชื้อสายเป็นชาวมลายูพร้อม กับทำหนังสือร้องเรียนไปยังข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำสหพันธ์รัฐ มลายูในสิงคโปร์ว่าไทย รังแกประชาชนปัตตานี รัชกาลที่ ๕ จึงให้จับกุมตัวฐานกบฏถอดยศส่งไปจองจำที่จังหวัด พิษณุโลกมีกำหนด ๑๐ ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ตวนกูอับดุลกาเดร์ขอถวายฎีกา รับผิดและสัญญาว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางการเมืองอีก จึงได้รับอภัยโทษแล้วเดินทางกลับ ปัตตานีชาวไทยมุสลิม ระดับหะยี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน ประมาณ ๕๐๐ คน ได้นั่งเรือ ๘๐ ลำ ไปรับที่ปากน้ำปัตตานี

       สมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๔๙ ได้ทรงยุบเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองทั้ง ๗ เหลือไว้ ๔ หัวเมือง คือปัตตานียะลา สายบุรี และนราธิวาส สำหรับตวนกูอับดุลกาเดร์ พ.ศ.๒๔๕๕ ได้ยื่น เรื่องขอรับเบี้ยหวัดย้อนหลัง แต่ไม่ได้รับการพิจารณาเพราะถือว่าเป็นกบฏต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ได้ยื่นเรื่อง ขอครอบครองที่ดิน จำนวน ๖๐๐ แปลงอีก โดยอ้างว่าเป็นมรดก ศาลตัดสินว่าเป็นทรัพย์สินแผ่นดิน สร้างความโกรธแค้นให้แก่ตวนกูอับดุลกาเดร์เป็นอย่างมาก 
จึงได้วางแผนร่วมกับพรรคพวกล่อลวงข้าราชการไทยไปสังหารหมู่ที่บ้านพักเพื่อปิดสถาน ที่ ราชการแต่ความแตกเสียก่อน รัชกาลที่ ๖ ทรงทราบเรื่องจึงให้ทหารจาก นครศรีธรรมราช ไปจับกุมตัวตวนกูอับดุลกาเดร์ไหวตัวทันจึงอพยพครอบครัวหนีไปอยู่ ที่รัฐกลันตันประเทศ มาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความปกครองของอังกฤษแล้ว และอาศัยอยู่จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ อย่างไรก็ดี แนวความคิดในการต่อสู้แบ่งแยกดินแดนหรือเพื่อความเป็นตัวของ ตัวเองยังมีผู้รับสืบทอดต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน และขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) ได้ยกย่อง ว่าเป็นวีรบุรุษ ต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนให้ชาวไทยมุสลิม

    การปฏิรูปและขยายอำนาจการปกครองของไทยไปทางตอนเหนือของแหลมมลายู ทำให้เกิด การเผชิญหน้ากับอังกฤษซึ่งแผ่อิทธิพลมาจากทางตอนใต้ของแหลมมลาย เช่นเดียวกันในที่ สุด ได้มีการทำสนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๒ โดยไทยยอมโอนอำนาจอธิปไตยเหนือรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส รวมทั้งเกาะ ใกล้เคียง ให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของอังกฤษขณะเดียว กันอังกฤษก็ยอมรับอำนาจอธิปไตยของไทยเหนือดินแดนบริเวณพรมแดนไทย - มาเลเซีย ในปัจจุบันโดยสรุปจะเห็นได้ว่า นโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ก็คือ การพยายามควบคุมไม่ให้ดินแดนในบริเวณนี้มีอำนาจ กล้าแข็งจนกระทั่งสามารถดำเนินการแบ่งแยกตัวเองให้เป็นอิสระต่อการปกครองของไทย ซึ่ง ในระยะหลังก็ได้ใช้วิธีการแบ่งแยกแล้วปกครอง (Divide and Rule) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังไม่มีนโยบาย ที่แน่ชัดเกี่ยวกับชาวไทยเชื้อสายมลายูที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ ในฐานะชนกลุ่มน้อยในสังคมไทย โดยเฉพาะ การเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่วัฒนธรรมแม้ว่า นโยบายการสร้างชาติ (nation building) จะได้เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ แล้วก็ตาม

     ในรัชกาสที่ ๖ นโยบายที่พอมีอยู่ก็เป็นไปในลักษณะผสมผสาน (Integration) โดยทรงวางหลักรัฐประศาสโนบายซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ วางไว้สำหรับปฏิบัติราชการ ในมณฑลปัตตานี ซึ่งเป็นเพียงแนวปฏิบัติตนของข้าราชการในการปกครองเท่านั้นสำหรับการ ศึกษาภาคบังคับที่ทรงกำหนดขึ้น มัสยิดบางแห่งในมณฑลปัตตานีก็ได้รับการขอร้องให้สอน หลักสูตรภาษาไทย พร้อมกับหลักสูตรศาสนาแต่ก็ไม่เป็นการปฏิบัติที่กว้างและได้ผลเท่าใดนัก

       พ.ศ.๒๔๗๔ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด ฯให้ยกเลิก มณฑลปัตตานี และให้โอนการปกครองไปรวมกับมณฑลนครศรีธรรมราชตามเดิมและยุบ เมืองสายบุรีลงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานีและภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีการยกเลิกระเบียบการปกครองแบบมณฑล
มาใช้พระราชบัญญัติว่าด้วย ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๔๗๖ ซึ่ง จัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางเป็นกระทรวงหรือทบวงการเมือง ราชการบริหารส่วน ภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นเทศบาลและสุขาภิบาล

      ด้วยสนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษ พ.ศ.๒๔๕๒ และพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบ ราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๔๗๖ ทำให้การปกครองพื้นที่บริเวณ นี้ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และรวมถึง สตูล ได้กลายมาเป็นหน่วยการปกครองที่มีฐานะเช่น เดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งมักเรียกกันว่า สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนกระทั่งพ.ศ.๒๕๐๖ คณะรัฐมนตรีมีมติให้เรียกชื่อใหม่ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะพิจารณาเห็นว่าคำเรียก เดิม ก่อให้เกิดการแตกแยกและให้รวมจังหวัดสงขลาเข้าไปด้วย

      ในช่วงหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง         ของคณะราษฎร์ทำให้ผู้นำชาวมุสลิมใน จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายคนเริ่มมีความหวังว่า ภายใต้ระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย พวกเขาจะสามารถรักษาและประคับประคองไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของสังคมตนดังจะ เห็นได้ว่าภายหลังการปฏิวัติผู้นำในการแบ่งแยกดินแดนคนหนึ่ง คือ ตวนกู มะไฮยิดดิน ได้เดิน ทางกลับจากการลี้ภัยทางการเมืองโดยใช้เหตุผลว่าเพราะว่า มีรัฐธรรมนูญแล้วส่วนผู้นำคนอื่น ๆ ก็มีความหวังว่าอำนาจที่พวกตนเคยเสียไปเมื่อคราวปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕ อาจ จะได้คืนมาใหม่โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ดังจะเห็นได้จากการเข้าต่อสู้ทางการเมืองใน การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ และ ๒๔๘๐ อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายมลายูมุสลิม โดยทั่วไป ยังไม่มีความกระตือรือร้นทางการเมืองเท่าใดนัก

       หลังจาก ตวนกูอับดุลกาเดร์ถึงแก่กรรมแล้ว ตวนกู มะไฮยิดดิน บุตรชาย คนที่ ๗ ก็เข้ารับแผนงานต่อจากบิดา โดยไปเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่กรุงเทพ ฯ ถูกเพื่อนล้อเลียน ว่าเป็นลูกกบฏ จึงไปเรียนต่อที่เกาะปีนัง และออกรับราชการแผนกการศึกษารัฐกลันตัน พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้หลบหนีไปอยู่อินเดียและสมัครเป็น ทหารอังกฤษได้ยศพันโท เป็นผู้รวบรวมสมาชิกตั้งขบวนการขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นที่ยึดครอง มลายา ชื่อว่า ขบวนการมุสลิมหนุ่มแห่งกลันตัน ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ และได้ส่ง เงินไปช่วยเหลือชาวไทยมุสลิม ๓,๐๐๐ คน ที่ตกค้างอยู่ในเมกกะ เพราะสงคราม เมื่อสงครามสงบบุคคลเหล่านี้กลับมาแล้ว จึงได้ยกย่องนับถือตวนกูมะไฮยิดดินเป็นมันสมอง ทำให้ ขจก. เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดในทุกจังหวัดที่มี
ชาวมลายูมุสลิมมากพอสมควร ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด ๒๖ จังหวัด
 อย่างไรก็ตาม ในสายตาของชาวมลายูมุสลิมมองว่า ความเป็นอิสระของผู้นำทางศาสนาเป็น สิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งความบริสุทธิ์และสิทธิเสรีภาพที่แท้จริงดังนั้นได้มี นักวิชาการ บางท่านกล่าวว่า สถาบันที่จัดตั้งขึ้นดูเหมือนไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบริหาร และประสาน ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนชาวมลายูมุสลิม แต่ได้กลับกลายเป็น ตัวแทน ของรัฐบาลไปในสายตาของชาวมลายูมุสลิม

         นอกจากนี้ พระราชกำหนด พ.ศ.๒๔๘๘ ยังได้กำหนดให้มีการจัดตั้งอิสลามวิทยาลัยแห่ง
ประเทศไทยขึ้น เพื่อให้เป็นสถาบันการศึกษาของชาวมุสลิม และสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันนี้จะได้รับพระราชทานทุนการศึกษาไปประกอบพิธีฮัจย และศึกษาเพิ่มเติม ณ เมือง เมกกะอย่างไรก็ดีในภายหลังกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้เป็นโรงเรียนในอาณัต ของ
กรมสามัญศึกษาแม้มีวิชาเลือกภาษาอาหรับเหลืออยู่ แต่ก็เปิดรับนักเรียนทั่วไปสำหรับทุนเล่า เรียนหลวงก็ไม่เคยมีการตั้งงบประมาณไว้เลย ทำให้อิสลามไม่สามารถทำหน้าที่ที่คาด หวัง ไว้ ดังที่ระบุไว้ในกฎหมาย

       ต่อมาได้มีการออกกฎหมายพิเศษสำหรับชาวมลายูมุสลิมอีก กล่าวได้ว่า เป็นนโยบายของ รัฐบาลที่แสดงออกมาในรูป อุปถัมภ สำหรับชาวมลายูมุสลิมเช่นกัน ได้แก่ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสตูล พ.ศ.๒๔๘๙ ซึ่งระบ ุให้สิทธิแก่ชาวไทยมุสลิมใน ๔ จังหวัด สามารถใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยมรดกและ ครอบครัวแทนบทมาตราที่เกี่ยวข้องในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ ๕ และ ๖) โดยให้มีการแต่งตั้งดะโต๊ะยุติธรรม ประจำศาลจังหวัดละ ๒ คน แต่เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้
ถูกร่างขึ้นมาโดยความพยายามของเจ้าหน้าที่รัฐบาลเป็นส่วนใหญ่กฎหมายฉบับนี้จึงไม่เป็นที่ ยอม รับในหมู่ชาวมลายู มุสลิมเท่าที่ควร

       สงครามโลกสงบลง (๑๕ ส.ค.๒๔๘๘) ตวนกู มะไฮยิดดิน คาดหมายว่าไทยจะ ต้องแพ้สงคราม ตนจะเสนออังกฤษให้แยก ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล) เข้าร่วมกับมลายูเป็นรัฐใหม่ตนจะเป็นสุลต่านปกครอง แต่รัฐบาลไทยในขณะนั้น โดยนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้แก้ไขสถานการณ์เอาไว้ได้ไม่ต้องแพ้สงคราม ตวนกู มะไฮยิดดิน จึงต้องผิดหวังแต่ยังมีความคิดแบ่งแยกดินแดนให้ได้ โดยจัดตั้งขบวนการอย่าง
เปิดเผยในรูปของสมาคม เรียกว่า สมาคมเผ่ามลายูที่ยิ่งใหญ่(Kumpulan Malayu Patani Raya) เรียกสั้น ๆ ว่า (KUMPAR) อยู่ที่รัฐกลันตันประเทศมาเลเซีย มีอิทธิพล ด้านการทหารเหนือสุลต่านกลันตัน ได้เคลื่อนไหวประสานกับทายาทเจ้าเมืองทั้ง ๗ ที่เสีย อำนาจร่วมกับไทยมุสลิมที่จบการศึกษาจากประเทศตะวันออกกลาง แข็งข้อต่อรัฐบาลไทย โดยให้นายหะยีสุหลง โต๊ะมีนา ดำเนินงานในประเทศ

         ที่มาในส่วนที่สองมีรายละเอียดดังนี้ ในอดีตปัตตานีเคยเป็นอาณาจักรโบราณที่มีความ
เจริญรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงตรงกับตอนต้นของสมัยอยุธยา ปัตตานีมีการ ปกครอง ตนเองแบบรัฐสุลต่าน และปัตตานีก็เป็นเมืองท่าและจุดยุทธศาสตร์สำคัญด้านชายฝั่งทะเล ตะวันออกของแหลมทองหรือแหลมมลายู เป็นคู่แข่งสำคัญของนครศรีธรรมราช (และหัวเมือง ชายทะเลด้านตะวันออก สำหรับนครศรีธรรมราชนั้นเป็นเมืองเอกของอยุธยาและรัตนโกสินทร์) ทำให้ทั้งอยุธยาและรัตนโกสินทร์ต่างพยายามแผ่อำนาจลงไปควบคุมปัตตานีเอาไว้ ให้ได้ในแง่ ของชนชาติหรือกลุ่มเชื้อสายมลายู ที่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมนับถือศาสนาอิสลามของแหลมทอง (ไม่นับรวมในหมู่เกาะอินโดนีเซีย) นั้น มีศูนย์กลางที่สำคัญอยู่ ๒ ศูนย์ คืออาณาจักรมะละกา ที่ตั้งอยู่บนฝั่งมหาสมุทรอินเดียด้านตะวันตกของแหลม ส่วนอีกด้านทางอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ก็คืออาณาจักรปัตตานนั่นเอง ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์อยุธยาได้แผ่อำนาจลงไปคุม ทั้งปัตตานีและมะละกา พยายามให้รัฐมลายูมุสลิมทั้งสองนั้นยอมรับอำนาจของตนและยอม ตกเป็นประเทศราชซึ่งอยุธยาทำได้สำเร็จในระดับหนึ่ง คือ ปัตตานียอมรับ ความมีอำนาจ ที่เหนือกว่า ของอยุธยา แต่บางครั้งเมื่อมีโอกาสก็ก่อการ ขบถ ต่อสู้มาเป็นเวลานับร้อย ๆ ปี แต่สำหรับอาณาจักรมะละกานั้นสามารถหลุดออกจากอำนาจอยุธยาไปได้ เนื่องจากมะละกา ได้รับความสนับสนุนจากจีนในสมัยราชวงศ์หมิง (ช่วงเวลาเดียวกับซำปอกงหรือขันทีแม่ทัพ เรือ นาม เจิ้งเหอ ที่สนับสนุนมะละกาให้ปลอดจากอำนาจอยุธยา) มะละกาจึงสามารถ ตั้งตัวเป็นอาณาจักรและเมืองท่าที่ปลอดจากอำนาจของไทยไปได้จนกระทั่ง โปรตุเกส มายึด ทีหลัง (ค.ศ.๑๕๑๑) ปัจจุบันประวัติศาสตร์ของ ชาติ มาเลเซีย ถือว่า มะละกา คือยุคทอง อันรุ่งเรืองของตน (ทำนองเดียวกับที่ไทยถือว่า สุโขทัย คือยุคทองหรือบ่อเกิด ของอารยธรรม ไทยที่สำคัญสุด) เมื่อมาถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ กษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ไม่ว่าจะเป็น ราชวงศ์พระเจ้าตากสินหรือราชวงศจักรี ก็อ้าง อำนาจอธิปไตย เหนือปัตตานีและรัฐมลายูอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกดะห์ (ไทรบุรี) กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้ยอมรับเงื่อนไขของการเป็น ประเทศราช ต้องส่ง ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง หรือที่เรียกในภาษามลายูว่า บุหงามาศ ส่งมาเป็นเครื่องบรรณาการ และยอมรับรูปแบบรัฐประเทศราช (แบบเดียวกับที่ล้านนา เชียงใหม่ หรือหลวงพระบางเวียงจันทนตลอดจนกัมพูชาก็ต้องถูกทำให้ยอมรับ) ในรูปแบบ ของการปกครองแบบ ประเทศราช นี้ ทั้งปัตตานีและรัฐสุลต่านมลายูตอนเหนือ(รวมทั้งล้านนา ล้านช้าง และกัมพูชา) ก็ยังมีผู้ปกครองของตัวเอง (เจ้าผู้ครองนคร ฯลฯ หรือแล้วแต่จะเรียก กันในแต่ละท้องที่) มีสุลต่าน มีกฎหมาย ศาสนาและวัฒนธรรมของตัวเอง โดยเมืองหลวง (กรุงเทพ ฯ) ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้านกิจการภายใน เรียกได้ว่ามีลักษณะของการปกครองแบบ กระจายอำนาจ และรับรองความเป็นท้องถิ่นทั้งในแง่ของศาสนาและวัฒนธรรม (ภาษา เขียนและภาษาพูด) แต่พอถึงช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองที่สำคัญ คือ มี การปฏิรูป
การปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มีการ

      ตั้งมณฑลเทศาภิบาล ขึ้น (ส่งข้าราชการจากกระทรวงมหาดไทยส่วนกลางไปปกครอง แทน) ประเด็นหลักของ การปฏิรูป คือการยกเลิกความเป็นอิสระหรือการกระจายอำนาจ ในการปกครองท้องถิ่น ยกเลิกศักดิ์และสิทธิ์ของบรรดาเจ้าเมือง (เจ้าผู้ครองนครหรือ สุลต่าน) ประเทศราช ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่หรือเจ้าเมืองต่าง ๆ ในล้านนา (แพร่ น่าน ลำพูน ฯลฯ) หรือในภาคอีสานก็ตามถูกยกเลิก ดังนั้นวงศ์ของสุลต่านปัตตานี ก็ถูกยกเลิกไปด้วย (สุลต่านปัตตานีองค์สุดท้ายถูกจับไปกักขังที่พิษณุโลก แต่วงศ์สุลต่านของเคดะห์ กลันตัน ตรังกานู ฯลฯ ยังคงมีอยู่เนื่องจาก อุบัติเหตุทางประวัติศาสตร์ ที่รัฐหรือประเทศราช เหล่านั้น ตกไปอยู่ในครอบครองเป็น เมืองขึ้นของอังกฤษตามข้อตกลงกับราชสำนักรัตนโกสินทร์ของ รัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ดู สุจิตต์ วงษ์เทศ บ.ก.รัฐปัตตานีใน ศรีวิชัย .ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๔๗.) ในแง่ของประวัติศาสตร์ จึงเรียกได้ว่ามี บาดแผล หรือเรื่องที่ค้างคาใจอยู่ แผลประวัติศาสตร์ แบบนี้อาจแห้งหายสนิทไปก็ได้ (เช่นในกรณีของล้านนา หรืออีสาน) หากได้รับการแก้ไขเยียวยาที่ดี แต่แผลเช่นนี้ก็อาจถูกสะกิดขึ้นมาให้พุพองและเน่าได้เช่นกัน (ดังจะเห็นได้จากข้ออ้างและหรือเอกสารของ ขบวนการ ต่าง ๆ ในบริเวณชายแดน ไม่ว่าจะเป็นพูโล หรือ เบอรซาตู) การปฏิรูปและ รวมอำนาจศูนย์กลาง ที่กรุงเทพ ฯและมหาดไทยนั้น กระทบกระเทือนต่อสถานะกับ ศักดิ์และสิทธิ์ ของผู้นำท้องถิ่น ทำให้ในช่วง 
ดังกล่าว มีการต่อต้านอย่างรุนแรงและเกิด กบฏ ร.ศ.๑๒๑ พร้อม ๆ กันถึง ๓ จุด คือ ขบถผู้มีบุญภาคอีสาน, ขบถเงี้ยวเมืองแพร่ และ พระยาแขก ๗ หัวเมืองคบคิดขบถ ใน พ.ศ.๒๔๔๕ ซึ่งรัฐบาลกลางที่กรุงเทพ ฯ ใช้กำลังทหารและอาวุธสงครามปราบปราม อย่างรุนแรงและเด็ดขาด (ดูเตช บุนนาค.ขบถ ร.ศ.๑๒๑ มูลนิธิโครงการตำรา ฯและไทย วัฒนาพานิช, ๒๕๒๔.) ครั้นมาถึง สมัยปฏิวัติ ๒๔๗๕ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เข้าใจว่าปัญหาเดิมที่มีอยู่ก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไปหาได้มีการแก้ไขอย่างจริงจังไม่ จังหวัดชาย แดนกลายเป็นที่ที่ไม่ได้มีข้าราชการที่ถูกส่งออกไปจากส่วนกลาง ที่มีความสามารถหรือความ เข้าอกเข้าใจต่อราษฎร ศาสนาหรือวัฒนธรรมของท้องถิ่นไม่อาจจะเป็นสิ่งตรงกันข้ามด้วย ซ้ำไปที่ข้าราชการที่ถูกส่งออกไปนั้นก็เพราะส่วนกลางไม่ต้องการเสียมากกว่า เข้าทำนอง ไซบีเรีย ของไทยก็ว่าได้ ฉะนั้นปัญหาที่มีอยู่เป็นทุนเดิมแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มเติมพอกพูนแผลเก่า ทางประวัติศาสตร์แทนที่จะแห้งเหือดหายกลับพุพองขึ้นมาได้อีกในช่วงสั้น ๆ หลังสงคราม โลกครั้งที่ ๒ ที่บ้านเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยอยู่ประมาณ ๒ ปีนั้น มีความ พยายามที่จะแก้ไขและทำความเข้าใจกับปัญหาจังหวัดชายแดนเหล่านี้ เช่น มีการนำตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี กลับมา ในฐานะเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในเรื่องของชนชาวมุสลิม ซึ่ง ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเป็นนายก รัฐมนตรีในระยะหนึ่งสั้น ๆ ได้แต่งตั้งนายแช่ม พรหมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งนี้ดำเนินนโยบาย ประนีประนอมแบบ สายพิราบ มองให้เห็น ถึงความแตกต่างและยอมรับทางศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมท้องถิ่นให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังจะเห็นได้จากการดำเนินการติดต่อกับผู้นำของ ท้องถิ่น เช่น กรณีของ หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ (ดู เฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร. หะยีสุหลง 
อับดุลกาเดร์ : กบฏ หรือวีรบุรุษแห่งสี่จังหวัดภาคใต้. ศิลปวัฒนธรรม,๒๕๔๗.) น่าเสียดาย ที่ความพยายามของ สายพิราบ นี้ สะดุดหยุดลงเมื่อ สายเหยี่ยว กลับมามีอำนาจภายหลัง การ รัฐประหาร ๒๔๙๐ ที่นำจอมพล ป. พิบูลสงคราม พร้อมทั้ง จอมพล ผิน ชุณหะวัณ และพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ฝ่ายอำนาจนิยมและอนุรักษนิยมกลับมาครองอำนาจใหม่ ข้อเสนอและบทบาทของ หะยีสุหลง ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ ต้องการ แบ่งแยกดินแดน ตัวท่านเองก็ ถูกอุ้ม หายไป (เชื่อกันว่าถูกทำลายชีวิตด้วยการจับมัดใส่กระสอบนำไปถ่วงน้ำ) และข้อหาทำนองนี้ ก็ถูกขยาย ไปครอบคลุมและทำลายชีวิตของ ๔ อดีตรัฐมนตรีอีสานด้วย คือ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (อุบลราชธานี) จำลอง ดาวเรือง(มหาสารคาม) ถวิล อุดล (ร้อยเอ็ด) และเตียง ศิริขันธ์ (สกลนคร) ใน พ.ศ.๒๔๙๒ อนึ่ง ตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี ก็ยังถูกลดฐานะเป็นเพียง ที่ปรึกษาของ รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย และไร้ความหมาย
ไปโดยปริยาย ในขณะที่ ปีศาจแห่งการแบ่งแยกดินแดน ก็ถูกนำมาใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำนองเดียวกับข้อกล่าวหา คอมมิวนิสต์ พร้อม ๆ กับการแก้ปัญหาแบบใช้ความรุนแรง และนโยบาย ตาต่อตา ฟันต่อฟัน หรือ เลือดต้องล้างด้วยเลือด กรณีของการจัดการกับ ม็อบ และสลายการชุมนุมที่มัสยิดกรือเซะก็ดี หรือตากใบ นราธิวาส หรือ ประเพณีการอุ้ม ก็ดี สะท้อนให้เห็นถึง นโยบาย และ การปฏิบัติ ของวิธีการและ วิธีคิดของราชการ สายเหยี่ยว มากกว่า สายพิราบ รายละเอียดจาก http://www.flowersandpaperbirds.
org/index.php?lay=show&ac =article&Id=87362&Ntype=5
  ที่มาในส่วนที่สามจากคำบอกเล่าของเพื่อนผู้เขียน มีรายละเอียดดังนี้ ดินแดนปลายแหลม มลายูเป็นดินแดนที่นับถือศาสนาพุทธมาอย่างยาวนาน แต่เนื่องจากช่องแคบมะละกาเป็นเส้น ทางเดินเรือสำเภาค้าขายที่สำคัญ และเป็นผลประโยชน์ของอาณาจักรเสียม - หลอ มาอย่าง ยาวนาน พื้นที่ดังกล่าวจึงเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่หลายชาติเข้ามาเกี่ยวข้องในสมัยกรุง สุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงได้ยกกองทัพเข้ายึดครองแคว้นมะละกากลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อ ใดที่ชาติจีนเข้มแข็ง พระเจ้ากรุงจีนก็จะกดดันชาติเสียม - หลอ ให้ยุติการ ยึดครอง แคว้นมะละกา ทุกครั้ง

     จนกระทั่ง พ.ศ.๑๙๔๕ ขณะนั้นประเทศจีนมีปัญหาในประเทศ พระเจ้าปรเมศวรผู้ ปกครองเมืองมะละกา กลัวว่า อาณาจักรเสียม - หลอ จะเข้ายึดครองแคว้น มะละกากลับคืน จึงต้องหันไปจับมือกับชาติอาหรับ โดยหันไปนับถือศาสนาอิสลามและเปลี่ยนพระนามใหม่ว่า อิสคันคาร์ ชาร์ เมื่อ พ.ศ.๑๙๔๗ เพื่อให้ชาติอาหรับคุ้มครองเมืองมะละกา จึงเป็นที่มา ให้ศาสนาอิสลามเริ่มเข้าสู่แหลมมลายู ตั้งแต่นั้นมา และขยายเข้าสู่แคว้นยะโฮร แคว้นไทรบุรี และแคว้นปัตตานี โดยการสมรสเกี่ยวดองในเวลาต่อไป

     พ.ศ.๑๙๔๗ ในรัชสมัยของพระนคร อินทราธิราช เจ้าชายเฮนรี่ แห่งชาติโปรตุเกส สามารถสร้างเรือสำเภาหลายใบ ซึ่งสามารถ ควบคุมความเร็ว และเล่นในทะเลลึกได้ และยัง สามารถสร้างปืนลูกซองสำเร็จเป็นชาติแรกอีกด้วย ได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดหมู่เกาะกานารี หมู่เกาะเคปเวอร์ริค และหมู่เกาะมาเดียร่า บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของทวีปแอฟริกา มาเป็นอาณานิคม และในปีถัดมา ก็นำกองทัพเรือเดินทางเข้าสู่อินเดีย และเข้ายึดเมืองคิวตา เป็นเมืองท่าค้าขายของชาติโปรตุเกส เป็นที่มาของสมัยการล่าอาณานิคมที่ได้ก่อตัวขึ้น ดังนั้น ใน พ.ศ.๑๙๘๔ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงยกกองทัพเขายึดเมืองมะละกากลับคืน เป็นผลสำเร็จพร้อมกับได้ตั้งพระยาตานีศรีสุริยะต่าน เป็นราชาปกครองแคว้นปัตตานีศาสนา อิสลาม จึงเข้าสู่แคว้นปัตตานีมากขึ้น

     พ.ศ.๒๐๕๔ ชาติโปรตุเกส สามารถนำกองทัพเรือเดินทางเข้าสู่เมืองมะละกาสำเร็จ ในปีถัดมา ชาติโปรตุเกส เกาะศรีลังกา เป็นอาณานิคมชาติแรกในทวีปเอเชีย พร้อมกับส่ง กองทัพเข้ายึดครองเมืองมะละกาไปจากชาติสยามเป็นผลสำเร็จ จึงเป็นที่มาให้ราชวงศ์ พระเจ้าปรเมศวรแห่งเมืองมะละกา ได้อพยพไพร่พลบางส่วนมาตั้งรกรากที่แคว้นปัตตานี เป็นจุดเริ่มต้นที่ศาสนาอิสลาม ได้เข้ามายังแคว้นปัตตานีขณะนี้ ชาติเสียมได้ส่งราชทูตไป เจรจากับกองทัพเรือโปรตุเกส ให้คืนเมืองมะละกากลับคืนให้แก่ชาติเสียม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เป็นที่มาให้ชาติโปรตุเกส เรียกประเทศเสียมเป็นสยาม และเกิดการค้าขายระหว่างชาติสยาม กับชาติโปรตุเกส เกิดขึ้นที่แคว้นปัตตานี ตั้งแต่นั้นมา

     เมื่อชาติสยาม ต้องเสียแคว้นมะละกาให้แก่ชาติโปรตุเกส ราชวงศ์ราชาปรเมศวร ราชา แห่งแคว้นมะละกา ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามต้องส่งราชโอรส และราชธิดา เข้าสมรสเกี่ยวดอง กับราชาแห่งแคว้นยะโฮรแล้วยังได้เข้าไปสมรสเกี่ยวดอง กับราชาแห่งแคว้นไทรบุรี และ แคว้นปัตตานี ด้วย กล่าวกันว่าราชามหาวังสาแห่งแคว้นปัตตานี ซึ่งเป็นแว่นแคว้นไทรบุรี และ
แคว้นปัตตานีด้วย กล่าวกันว่าราชามหาวังสาแห่งแคว้นปัตตานี ซึ่งเป็นแว่นแคว้นของอ าณาจักรเสียม - หลอ ในขณะนั้น ได้ไปสมรสเกี่ยวดองกับราชธิดาแห่งราชาแคว้น มะละกา เพื่อร่วมมือกันต่อต้านการล่าอาณานิคมของชาติโปรตุเกส จึงต้องเข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนพระนามใหม่เป็นสุลต่านอิสมาแอล์ ซาห์

      ตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๓๗ ซึ่งเป็นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองทัพเรือชาติโปรตุเกส เริ่มปะทะกับกองเรือของชาติฮอลันดา ในดินแดนเอเชีย และใน พ.ศ.๒๑๓๙ ก็เริ่มปะทะ กันที่หมู่เกาะสุมาตรา และใน พ.ศ.๒๑๔๓ กองทัพเรือชาติฮอลันดา ได้ร่วมมือกับสุล ต่านแคว้นยะโฮรเข้ายึดเมืองมะละกาเป็นของชาติฮอลันดาสำเร็จ กองทัพเรือของชาต ิโปรตุเกส เริ่มถอยร่นเข้ายึดเมืองต่าง ๆ ในหมู่เกาะชวาเพื่อขัดขวางการรุกรานของ ชาติฮอลันดา แคว้นปัตตานี จึงค้าขายกับชาติฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส ส่วนชาติ สเปน ต้องหลบหนีไปค้าขายกับเขมร เมืองมะละกา จึงถูกชาติตะวันตกทำสงครามแข่งขันกันเข้า ครอบครองเรื่อยมาทำให้ส่งผลกระทบมาสู่แคว้นปัตตานีด้วย โดยชาติตะวันตกเข้าหนุนหลังให ้แยกออกเป็นรัฐอิสลามปัตตานี เรื่อยมาขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้เกิดขึ้นจากผลของลัทธิการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกหลายครั้งหลายคราว

     เมื่อชาติตะวันตกมีข้อตกลงที่จะแบ่งแยกพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นเมืองขึ้น ของชาติอังกฤษ และดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเมืองขึ้นของชาติฝรั่งเศส หลัง จากนั้นประเทศนักล่าอาณานิคม เป็นผู้สนับสนุนให้สร้างองค์กรต่าง ๆ ขึ้น ตั้งแต่ขบวนการอั้งยี่ ที่มีเป้าหมาย เพื่อแยกดินแดนภาคใต้ของไทยมาเป็นรัฐอิสระ อีกประเทศหนึ่ง เป็นที่มาให้ใน พ.ศ.๒๔๓๕ ชาติสยามต้องดำเนินการปฏิรูประบบราชการเพื่อการสร้างรัฐของชาติสยามขึ้นใน ลักษณะของการรวมศูนย์อำนาจ แต่ต่อมา ชาตินักล่าอาณานิคม ได้สร้างสนธิสัญญาลับ พ.ศ.๒๔๓๙ ยอมรับเอกราชชาติสยาม โดยมีอาณาเขตมาถึงแม่น้ำเพชรบุรี เพื่อแยกดินแดน ภาคใต้ออกเป็นรัฐหนึ่งอีกต่างหาก
ศ.๒๔๔๒ ชาติสยามต้องยินยอมเสียดินแดน กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส เพื่อรักษาดินแดนภาคใต้ ก็ได้เกิด ขบวนการแยกรัฐปัตตานีขึ้นมาอีก โดยนำดินแดนที่เสียไป มารวมกับ พื้นที่ ๕ จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีผู้นับถือศาสนาอิสลามแยกออกมาเป็นรัฐอิสลาม ปัตตานี ซึ่งเป็นที่มาของการก่อเกิดขบวนการแบ่งแยกดินแดนรัฐปัตตานีดารุสสลามตั้งแต ่นั้นมา และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน 

        ที่มาในส่วนที่สี่ มีรายละเอียดดังนี้ เชื่อกันว่าบริเวณเมืองปัตตานี เคยเป็นที่ตั้งของ อาณาจักรลังกาสุกะ ในภาษาอาหรับ หรือ ลังยาชือเกีย ในภาษาจีนซึ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ ๗ จากการรับถ่ายทอดเอาอารยธรรมอินเดีย เข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรม ดั้งเดิมเมืองหลวงของลังกาสุกะคือปัตตานี มีชื่อเสียงในฐานะท่าเรือจำหน่ายสินค้า จำพวกเงิน และทองคำในยุคแรก ๆ มีการนำทองคำจากปัตตานีไปขายถึงอินเดีย และบางครั้งไปไกล ถึงกรีต (น่าจะ เป็นกรีก ผู้เขียน) และโรมัน ลังกาสุกะยังเป็นเมืองท่าแห่งแรกที่ได้ทำการ ค้าตามระบบบรรณาการกับจีน

        ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ลังกาสุกะ เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการติดต่อสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับเกาะชวา เนื่องจากนับถือพุทธศาสนามหายานชเหมือนกันพุทธศาสนาม หายานได้แพร่เข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองใน คาบ สมุทรมลายู และ
หมู่เกาะอินโดนีเซียทำให้เกิดการสร้างสรรค์ วัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา คือ อารยธรรมศรีวิชัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นวัฒนธรรมศักดินารุ่นแรกๆที่เกิดขึ้นทางปลายแหลมมลายูและหมู่เกาะ
อินโดนีเซีย
     ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ศรีวิชัยสูญสิ้น อำนาจไปพร้อม ๆ กับพุทธศาสนามหายาน ลังกาสุกะก็เสื่อมตามไปด้วย เนื่องจากการโจมตีของโจรสลัด ความเสื่อมของชุมชน ที่รับ เอาอารยธรรมอินเดียรอบ ๆ อ่าวไทยและหมู่เกาะ เปิดโอกาสให้พุทธศาสนานิกายเถรวาท จากศรีลังกาสามารถเข้ามาแพร่ขยายอิทธิพลได้เต็มที่ ทำให้เกิดขบวนการสร้างสรรค์ วัฒนธรรมใหม่ แบบศักดินา ในขณะเดียวกันปัตตานี ซึ่งได้รับอิทธิพลดังกล่าวฟื้นฟูอำนาจขึ้น มาใหม่ มีบทบาทสำคัญในฐานะรัฐอิสระ ไม่ขึ้นกับเมืองใด และรุ่งเรืองขึ้นอย่างมากปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อการค้าระหว่างปัตตานีกับจีนขยายตัวมากขึ้นมีการส่งสินค้านานาชนิด ไปขายยังจีน และสินค้าเข้าจากจีน ได้แก่ ผ้าแพรพรรณ และเครื่องเคลือบดินเผา ในขณะ เดียวกันปัตตานี ก็มีความสัมพันธ์กับนครศรีธรรมราชมากขึ้นในฐานะอาณาจักรชาวพุทธที่มี วัฒนธรรมเหมือนกันตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ศาสนาอิสลามซึ่งนำเข้ามาโดยพ่อค้าอินเดีย และอาหรับ แพร่เข้าสู่ปลายคาบสมุทร แต่เดิมเชื่อว่าเจริญ ที่มะละกาเป็นแห่งแรก แต่ภายหลัง มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า ปัตตานีเป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามแห่งแรกบริเวณคาบสมุทร มลายูชื่อของเมืองนี้จึงปรากฏอยู่ในบันทึกของอาหรับว่า ลังกาสุกะ แต่ครั้นถึงกลางพุทธ ศตวรรษที่ ๒๑ ชื่อลังกาสุกะก็หายไป กลายเป็นสำนึก แห่งประวัติศาสตร์ และตำนานเท่านั้น 
ชาวมลายูตอนเหนือของมลายาและปัตตานีเชื่อว่าลังกาสุกะเป็น อาณาจักรแห่งสวรรค์นครแห่ง ความผาสุกปกครองโดยเจ้าหญิง ซึ่งประทับเป็นโสดอยู่บนเนินเขา และเนินเขานั้นคงหมาย ถึงปัตตานี

      จากการสำรวจทางโบราณคดีชั้นต้น พบว่าบริเวณลุ่มน้ำปัตตานี มีชุมชนโบราณ ๒ แห่ง คือ ที่เมืองประแว อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และบริเวณวัดถ้ำคูหาภิมุข อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เมืองปัตตานีโบราณคงตั้งอยู่ ณ ที่หนึ่งที่ใดใน ๒ แห่งนี้ บริเวณเมืองประแว อยู่ใกล้กับปากน้ำปัตตานี จึงน่าจะเป็นที่ตั้งเมืองปัตตานีมากกว่า เพราะหลักฐานระบุว่า คือ ท่าเรือ รายละเอียดจากเอกสารภูมิหลังปัตตานี ฐานปฏิบัติการข่าวปัตตานีซึ่งผู้เขียนนำเอา บาง ส่วนมาให้ผู้อ่านได้รับทราบ

     ที่มาในส่วนที่ห้า มีรายละเอียดดังนี้ เชื่อกันว่าจากหลักฐานเอกสารโบราณของจีน อาหรับ ชวา มลายู และจารึกของชาวอินเดีย ที่ปรากฏนามเมืองของรัฐสำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมมลายู ซึ่งออกเสียงตามสำเนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ และ ๑๖ - ๑๘) ลังคาโศกะ อิลังกาโศกะ (ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ พุทธศตวรรษที่ ๙ และพุทธศตวรรษที่ ๑๖) เล็งกะสุกะ (ภาษาชวา พุทธศตวรรษที่ ๒๐) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับ พุทธศตวรรษที่ ๒๑) ลังกะสุกะ ลังกาสุกะ (ภาษามลายู พุทธศตวรรษที่ ๒๔) (wheatly 1961 Sklling 1992:131; อมรา ศรีสุชาติ ๒๕๔๐; กรมศิลปากร ๒๕๔๐:๑๐) ชื่อที่ปรากฏนี้ นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกันที่เคยตั้งอยู่ในรัฐเกดะห์ ประเทศสหพันธ รัฐมาเลเซีย และจังหวัดปัตตานีในประเทศไทย แต่ในสมัยหลังศูนย์กลางของเมือง แห่งนี้น่า จะอยู่ในจังหวัดปัตตานี เนื่องจากชาวพื้นเมืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ยังกล่าวว่าเมืองปัตตานี พัฒนาขึ้นมาจากเมืองลังกาสุกะสอดคล้องกับตำนานเมืองไทร บุรี ที่กล่าวว่า ราชามะโรงมหาวงค์ทรงสร้างลังกาสุกะบนฝั่งตะวันตกที่เกดะห์และพระราชนัดดา ของ พระองค์ได้มาสร้างลังกาสุกะที่ปัตตานี ชาวพื้นเมืองปัตตานีเรียกบริเวณแถบนี้ว่าลังกาสุกะ มาจนกระทั่งแม่น้ำปัตตานีเปลี่ยนทางเดิน (หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี,๒๕๓๙ : ๑๐๗) ราว
พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ชุมชนลังกาสุกะ
เริ่มเสื่อมลงไปเนื่องจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และศาสนาวัฒนธรรมของชาวเมือง ได้เปลี่ยนแปลงไป นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเชื่อว่าปัตตานีเป็นที่แวะพัก
จอดเรือเพื่อแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาว จีนทางตะวันออก และชนพื้นเมือง บนแผ่นดินและตามหมู่เกาะใกล้เคียงต่าง ๆ นอกจาก นั้นยังเชื่อมั่นอีกด้วยว่าปัตตานีเดิมเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ ตามที่ปรากฏในเอกสารโบราณที่ กล่าวมา (ภัคพดี อยู่คงดี, มปป:) หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงร่องรอยของความเจริญ รุ่งเรืองในอดีตของปัตตานีที่บริเวณอำเภอยะรัง เป็นซากร่องรอยของเมืองโบราณขนาด ใหญ่ซ้อนทับกันถึง ๓ เมือง มีซากเป็นโบราณสถานปรากฏอยู่ไม่น้อยกว่า ๔๐ แห่ง ซากเนินโบราณสถานบางแห่งได้รับการขุดแต่ง และอนุรักษ์ไว้ เช่น โบราณสถานบ้านจาเละ ๓ แห่งซึ่งเป็นซากอาคารศาสนสถาน ก่ออิฐที่มีการขัดแต่งประดับฐานชั้นล่าง ๆ และยังค้นพบ โบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น สถูปจำลองดินเผาพระพิมพ์ดินดิบ และดินเผาบางชิ้นมีตัว อักษรซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) ภาษาสันสกฤตเขียน เป็นคาถาเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์และเศษภาชนะดินเผา ประเภทต่าง ๆ โบราณวัตถุเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ (กรมศิลปากร, ๒๕๓๕) สอดคล้องกับจดหมายเหตุจีนที่ได้กล่าวถึงไว้ นอกจากนั้นหลักฐานที่ได้ขุดค้นพบ ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าบริเวณที่เป็นที่ตั้งอำเภอยะรังในปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีความเจริญทาง วัฒนธรรมสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธ ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียไว้อย่างเต็มที่มี ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง เช่น บริเวณดินแดนภาคกลางของประเทศไทย และ บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนด้วย และคงจะเป็นชุมชนที่มีกิจกรรมสืบต่อเรื่อยมาจนถึง ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ก่อนที่อาณาจักรศรีวิชัยจะมีอำนาจรุ่งเรืองครอบคลุมคาบสมุทรมลายู
ในที่สุด (ภัคพดี อยู่คงดี,มปป.:๒) นักภูมิศาสตร์เชื่อว่า เมืองโบราณขนาดใหญ่ ที่บริเวณอำเภอ ยะรังนั้นหมดความสำคัญลงน่าจะมีเหตุผลประการหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับ น้ำ ทะเลช่วงระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปี ที่ผ่านมา โดยลดลงไประดับหนึ่งมีผลทำให้ชายฝั่งทะเล ถอยห่างออกไปจากเดิม ดังนั้นที่ตั้งของชุมชนจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นทำเลของการเป็น เมืองท่าค้าขายอีกต่อไป และนำมาซึ่งการย้ายที่ตั้งของเมืองในระยะเวลาต่อมาซึ่งสัมพันธ์กับ ตำนาน การสร้างเมืองปัตตานีที่กล่าวไว้ในหนังสือหลายเล่ม เช่น Hikayat Patani:Story of Patani ของ A.Teeuw และ D.K.Wyatt:Sajaraj Kerajaan Melaya Patani หรือตำนานเมืองปัตตานีของ lbrahim Syukri เป็นต้น แม้ว่าจะไม่สามารถระบุระยะ เวลากำเนิดของเมืองปัตตานีได้อย่างแน่ชัด แต่เมืองปัตตานีก็ได้ปรากฏชื่อและเจริญรุ่งเรือง ขึ้นมาเป็นลำดับ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นอย่างน้อย

      เมืองปัตตานี ได้ชื่อว่าเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ปลายแหลมมลายู มีฐานะเป็นเมืองประเทศ ราชของกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑) และอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ในพ.ศ.๒๐๕๔ โปรตุเกสสามารถยึด ครองมะละกาได้สำเร็จ และพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าขึ้นมาทางตอนเหนือของคาบ สมุทรมลายู ประกอบกับพระราชาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๔ - ๒๐๗๒) ทรงยินยอม ให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองชายฝั่งทะเล เช่น นครศรีธรรมราชมะริดตะนาวศรี รวมทั้งปัตตานีด้วยทำให้ปัตตานีกลายเป็นเมืองท่าหลักเมืองหนึ่ง เป็นที่ตั้งของสถานีการค้า ของ พ่อค้าทั้งชาวตะวันตกและชาวตะวันออก ทั้งชาวอินเดีย จีน และญี่ปุ่น สินค้าที่สำคัญของ เมืองปัตตานียุคนั้น ได้แก่ ไม้กฤษณา ไม้ฝาง เครื่องเทศ ของป่า งาช้าง และนอแรด นอกจากนี้ปัตตานียังเป็นจุดรับส่งสินค้าของนานาชาติ เช่น เครื่องถ้วยชาม อาวุธ ดินปืน ดีบุก และผ้าไหม (สถาบันทักษิณคดีศึกษา: ๒๕๒๙) แม้ว่าปัตตานีเป็นเมืองประเทศ ราชของ กรุงศรีอยุธยาก็ตาม แต่ด้วยเหตุเมืองที่ปัตตานีมีความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ทำให้เจ้าเมืองปัตตานีต้องการเป็นอิสระหลายครั้ง ดังเช่น ใน พ.ศ.๒๐๙๒ ในรัชสมัยสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระยาตานีศรีสุลต่านได้นำกองทัพเรือ ประกอบด้วยเรือหย่าหยับ ๒๐๐ ลำ ไปช่วยราชการสงครามแต่เมื่อเห็นว่ากองทัพกรุงศรี อยุธยาเสียทีพม่า จึงถือโอกาสทำการขบถยกกำลังบุกเข้าไปในพระบรมมหาราชวังสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิหนีข้ามฝากไปประทับบนเกาะมหาพราหมณ์ จนเมื่อกองทัพไทยรวบรวม กำลังได้แล้วจึงยกกองทัพเข้าโอบล้อมตีกองทหารเมืองตานีจนแตกพ่ายไป ต่อมาใน พ.ศ.๒๑๔๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีรับสั่งให้ออกญาเดโชยกทัพไปตีเมืองปัตตานี เพื่อยึดเข้าไว้ในพระราชอำนาจแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากปัตตานีได้รับการช่วยเหลือจากพ่อค้า ชาวยุโรป ทั้งอาวุธปืนใหญ่และทรัพย์สินเงินทอง ในสมัยพระเพทราชา (พ.ศ.๒๒๓๑ - ๒๒๔๕) เมืองปัตตานีไม่พอใจในการสถาปนาขึ้นใหม่ของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศไม่ยอม ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งทำให้ปัตตานีเป็นอิสระต่อเนื่องมาจนกระทั่ง กรุงศรีอยุธยา เสียแก่ พม่าใน พ.ศ.๒๓๑๐ ตลอดมาจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีเมืองปัตตานีตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจากหลักฐาน ทางโบราณคดีที่พบที่เมืองโบราณยะรัง แสดงว่าประชาชนโดยทั่วไปก่อนหน้านั้นนับถือ ศาสนาพุทธและพราหมณ์ และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลังจากที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อม อำนาจลงอิทธิพลของศาสนาอิสลามจากราชวงค์มัชปาหิตในชวาได้แผ่อำนาจเข้ามาสู่ แหลม มลายูก่อตัวขึ้นเป็นอาณาจักรมะละกา ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ แผ่อิทธิพลไปสู่เมืองต่าง ทำให้เจ้าเมืองเปลี่ยนการนับถือศาสนาเดิมมาเป็นศาสนาอิสลามทั้งหมด ก่อให้เกิดความ ร่วมมือด้านการเมือง และการเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคนี้อย่างเข้มแข็ง ศาสนาอิสลามได ้เจริญรุ่งเรือง ขึ้นควบคู่ไปกับการค้า มีการก่อสร้างมัสยิดขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ มัสยิดที่สำคัญคือ มัสยิดกรือเซะ ซึ่งเป็นมัสยิดใหญ่ประจำเมือง และมัสยิดบ้านดาโต๊ะ บริเวณที่ เป็นท่าเรือทางตอนเหนือของอ่าวปัตตานี นอกจากนั้นยังมีมัสยิดและสุเหร่าในเขตชุมชน อิสลาม ถูกสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง

     ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) ทรงโปรด ฯ ให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกทัพหลวงลงมาปราบ ปรามพม่าที่มาตีหัวเมืองทางแหลมมลายูจนเรียบร้อย และใน พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จลงไปประทับที่เมืองสงขลา ให้ข้าหลวงเชิญกระแสรับสั่งออกไปยังหัวเมืองที่เหลือ คือ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี และเมืองตรังกานู ให้มายอมเป็นเมืองขึ้นเช่นเดิม แต่สุลต่านมูฮัม หมัดพระยาปัตตานีในขณะนั้นขัดขืนกรมพระราชวังบวร ฯ จึงมีรับสั่งให้พระยากลาโหม ยกกองทัพไทยลงไปตีเมืองปัตตานีได้ใน พ.ศ.๒๓๒๙ กวาดต้อนครอบครัวและ ศาสตราวุธมา เป็นอันมากรวมทั้งปืนใหญ่ ๒ กระบอก แต่สามารถนำไปได้เพียงกระบอกเดียว แล้วจึงนำ ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรด ฯ ให้จารึกชื่อเป็น พญาตานี ซึ่งนับว่าเป็นปืนใหญ่กระบอกใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณหน้ากระทรวง กลาโหม กรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ.๒๓๓๒ ตนกูลามิดดิน เจ้าเมืองปัตตานีมีหนังสือไปชวน
องค์เชียงสือเจ้าอนัมก๊กให้ร่วมกันตีหัวเมือง ในพระราชอาณาจักร เมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบ จึงโปรด ฯ ให้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานีอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๕๑ ดาตะปังกาลันได้ก่อความไม่สงบขึ้น รัชกาลที่ ๑ โปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค) ยกทัพหลวงออกไปสมทบกับเมืองสงขลา พัทลุง จะนะ ตีเมืองปัตตานี ได้สำเร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.๒๓๕๒ - ๒๓๖๗) เกิดความไม่สงบบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามและพระยาสงขลา (เถี่ยนจ๋อง) ผู้กำกับดูแลหัวเมืองมลายูแบ่งเมืองตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง และแต่งตั้งให้พระยาเมืองเป็นผู้ปกครอง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๕๙ เป็นต้นมาได้แก่
๑   เมืองปัตตานี ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมือง
๒. เมืองยะหริ่ง นายพ่าย เป็นเจ้าเมือง
๓. เมืองสาย นิเดะห์ เป็นเจ้าเมือง
๔. เมืองหนองจิก ต่วนนิ เป็นเจ้าเมือง
๕. เมืองระแงะ นิดะห์ เป็นเจ้าเมือง
๖. เมืองรามันห์ ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมือง
๗. เมืองยะลา 

      ต่วนยาลอร์ เป็นเจ้าเมือง(Ibrahim Syukri, 1985 : 61-62 ; ครองชัย หัตถา, ๒๔๕๑ : ๑๔๐ - ๑๔๒)ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกวิธีการปกครองบ้านเมืองแบบจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๓๕ เป็นต้นมาจัดการปกครองเป็นแบบ ๑๒ กระทรวง มีกระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวง การแผ่นดิน โดยให้จัดการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาลทรงใช้นโยบาย ประนีประนอม และ ทรงดำเนินการทีละขั้นตอนโดยไม่ก่อ่ให้เกิดการกระทบกระเทือน ต่อการปกครองของเจ้า เมือง ทั้ง ๗ หัวเมือง ในภาคใต้ทรงโปรด ฯ ให้จัดแบ่งเป็น ๔ มณฑล ได้แก่

๑. มณฑลภูเก็ต จัดตั้งใน พ.ศ.๒๔๓๗
๒. มณฑลชุมพร จัดตั้งใน พ.ศ.๒๔๓๙
๓. มณฑลนครศรีธรรมราช จัดตั้งใน พ.ศ.๒๔๓๙
๔. มณฑลไทรบุรี จัดตั้งใน พ.ศ.๒๔๔๐
     มณฑลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยเมือง ๑๐ เมือง โดยรวมเอาบริเวณ ๗ หัวเมือง เข้าไว้ด้วยคือ เมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ยะลา ระแงะ และรามันห์มีผู้ว่าราชการเมืองดูแล อยู่ในการปกครองของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล พ.ศ.๒๔๔๗ ทรงพระกรุณา โปรดให้แยกหัวเมืองทั้ง ๗ ออกจากมณฑลนครศรีธรรมราชมาตั้ง เป็นมณฑลปัตตานี พร้อมทั้งเปลี่ยนฐานะเมืองเป็นอำเภอ และจังหวัดได้แก่จังหวัดปัตตานีรวม
เมืองหนองจิกและเมืองยะหริ่งจังหวัดสายบุรีรวมเมืองระแงะจังหวัดยะลา รวมเมืองรามันห์ 
นอกจากนี้ยังแยกท้องที่อำเภอหนองจิกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมืองเก่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมะกรูดและอำเภอโคกโพธิ์ตามลำดับ เมืองปัตตานีเดิมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะกาฮะรัง
และจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่อีก ๒ อำเภอคืออำเภอยะรังและอำเภอปะนาเระขึ้นกับจังหวัดปัตตานี
 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำภาย หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลจึงต้องตัดทอนรายจ่ายให้น้อยลง เพื่อ รักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ จึงยุบเลิกมณฑลปัตตานี คงสภาพเป็นจังหวัด ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบัน และแบ่งพื้นที่บางส่วนของสายบุรี คือระแงะ และบาเจาะ ไปขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ เป็นต้นมาจังหวัดปัตตานี มีการปกครอง โดยผู้ว่าราชการจังหวัด พระยารัตนภักดี (แจ้ง สุวรรณจินดา) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ปัตตานี คนแรก ภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย     โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.๒๔๗๖ จัดระเบียบบริหาร ราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราช บัญญัติดังกล่าวใน พ.ศ.๒๔๙๙ และ พ.ศ.๒๕๐๕ และใช้บริหารราชการแผ่นดินมาจนทุกวันนี้ เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดปัตตานีในอดีต ได้แก่ เหตุการณ์ความไม่สงบอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในแต่ละยุคแต่ละสมัย จนนำ ไปสู่การต่อต้านรัฐซึ่งมีมาเป็นลำดับ 

     ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ การต่อต้านรัฐทำให้ เกิดขบวน การเคลื่อนไหวทางการเมืองและการก่อการร้ายในเวลาต่อมา ตัวอย่างเช่น ระหว่าง พ.ศ.๒๔๕๓ - ๒๔๖๕ มีการต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงจากมุสลิมปัตตานี เกิดการจลาจลหลายครั้งโดยนำประเด็นทางศาสนาที่แตกต่างไปจากรัฐผู้ปกครอง รวมถึงการที่ รัฐบาลไทยเริ่มใช้กฎหมายและระเบียบที่ขัดกับหลักการของศาสนา หรือขัดต่อประเพณี ปฏิบัติของชาวมุสลิม ใน พ.ศ.๒๔๖๖ สมัยรัชกาลที่ ๖ รัฐบาลจึงทบทวนผ่อนปรน ระเบียบปฏิบัติที่ขัดต่อศาสนาอิสลาม และให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมีบทบาทในการปกครอง ดูแลตนเองได้มากขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๗๕ เมื่อประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลง ระบบการปกครองมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก นับเป็นการเปิดโอกาสให้ ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ แม้ว่าการเลือกตั้ง ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๗๖ ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะไม่มีผู้ที่เป็นมุสลิมได้ รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มมากขึ้น และได้ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติและ ทางการบริหารอย่างต่อเนื่อง ในบางยุคบางสมัย (เช่น ในพ.ศ.๒๕๓๙) สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรซึ่งเป็นมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการเสนอชื่อ และได้รับพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายนิติบัญญัติ ของประเทศ หากพิจารณาถึงผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ.๒๔๘๐ และ พ.ศ.๒๔๘๑ ที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิมได้รับการ เลือกตั้งทั้งหมดอย่างไรก็ตามความขัดแย้งต่าง ๆ ในบางประเด็นยังคงมีอยู่ เช่น การจัดการ ศึกษาภาคบังคับการใช้ภาษาและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๕ ความไม่เข้าใจ ของชาวมลายูมุสลิมขยายตัวออกไปมากขึ้น เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ของไทยในขณะนั้นประกาศใช้นโยบาย รัฐนิยม รวม ๑๒ ฉบับ ปรากฏว่า นโยบายหลายข้อขัดต่อประเพณีปฏิบัติของชาวมลายูมุสลิม ใน พ.ศ.๒๔๙๑ หะยีสุหลงถูก รัฐบาลไทยจับกุม ความตึงเครียดระหว่างชาวมลายูมุสลิมกับรัฐบาลไทยจึงปะทุขึ้นมีการปราบ ปรามและปะทะกันด้วยอาวุธ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคนรัฐบาลไทยเรียกเหตุการณ ์ครั้งนี้ ว่ากบฏดุซงยอผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชาย แดนภาคใต้นับพันคนอพยพลี้ภัยบางส่วนไปอาศัยอยู่อย่างถาวรในรัฐต่าง ๆ ตอนบนของ สหพันธ รัฐมาเลเซีย นอกจากนั้น ผลกระทบที่สืบเนื่องต่อมาคือความรู้สึกต่อต้านและความหวาดระแวง ต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้นำชาวมุสลิม บางครั้งก็มีการปฏิบัติการที่รุนแรงจากทั้งสอง ฝ่ายการต่อต้านรัฐได้ปรากฏเป็นขบวนการเคลื่อนไหวชัดเจนขึ้นทันที เมื่อผู้อพยพจาก เหตุการณ์ที่ปัตตานี ระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๑ ได้รวบรวมสมาชิกจำนวนหนึ่งจัดตั้ง ขบวนการประชาชาติมลายูปัตตานี หรือ GAMPAR (Gabogan Melayu Pattani Raya) มีศูนย์กลางอยู่ที่โกตาบารู และมีเครือข่ายในกลันตัน เกดะห์ สิงคโปร์ และปีนัง ส่วนที่ปัตตานีมีการเคลื่อนไหวของประชาชนชาวปัตตานี หลังจากนั้นใน พ.ศ.๒๕๐๒ ได้มีการรวบรวมผู้นำและสมาชิกจากปัตตานีและ GAMPAR จัดตั้งเป็นขบวนการใหม่ คือ ขบวนการแนวหน้าแห่งชาติเพื่อปลดปล่อยปัตตานี หรือ BNPP (Barisan National Pembebasan Pattani) พ.ศ.๒๕๐๓ มีการจัดตั้งขบวนการปฏิบัติแห่งชาติหรือ BRN
(Barisan Revolusion National) มีการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องบริเวณเขตรอย ต่อชายแดนไทย - มาเลเซียแถบจังหวัดยะลา และสงขลา ใน พ.ศ.๒๕๑๑ มีขบวนการปลด แอกสาธารณรัฐปัตตานี หรือ PULO (Pattani United Liberation Organization) เกิดขึ้น องค์กรนี้มีบทบาทสูงและมีการใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว มีการโฆษณาผลงานปฏิบัติ การอย่างสม่ำเสมอ จนได้รับความเชื่อถือจากองค์กรในต่างประเทศที่สนับสนุนการเคลื่อนไหว
ดังกล่าว (Mohd. Zamberi A.Malak, 1993 : 318 - 330 ; Ahmad Fathy al - Fatani, 1994 : 127 - 131 ; Pitsuwan, 1989 : 175 - 187) ในระยะที่พรรคคอม มิวนิสต์แห่งประเทศไทย (PKT : Parti Komunis Thailand) และพรรคคอม มิวนิสต์แห่งมลายา (PKM : Parti Komunis Malaya) เคยมีบทบาทเคลื่อนไหว อยู่ตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย มีหลักฐานชัดเจนว่าพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสองให้การ สนับสนุน ขบวนการแบ่งแยกดินแดน และยุยงให้ประชาชนต่อต้านรัฐบาล (Thomas, 1975 : 205) ในช่วง พ.ศ.๒๕๑๖ ขบวนการนักศึกษามีบทบาทโดยตรงต่อกิจกรรมการ เคลื่อนไหว ทางการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแนวร่วมสหพันธ์นักศึกษามุสลิมเป็นแกน นำสำคัญ หนังสือพิมพ์เสียงนิสิต(SUARA SISWA) เป็นแหล่งข่าวสารเพื่อการเผยแพร ่อุดมการณ์ของแนวร่วมนักศึกษามุสลิมในยุคนั้น โดยมีหัวหน้ากองบรรณาธิการในขณะนั้น ดำเนินการ อยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่วนที่โกตาบารู รัฐกลันตันได้มีการรวมตัวกันจัด ตั้งขบวนการ GIP (Garakan Islam Pattani) (Ahmad Fathy al - Fatani, 1994 : 131) หรือพรรคอิสลามก้าวหน้าแห่งปัตตานี ขบวนการเคลื่อนไหวมาเลเซียดังกล่าวได้รับการสนับ สนุนจากพรรคการเมืองบางพรรคในมาเลเซีย การเคลื่อนไหวก่อการร้ายในจังหวัดชายแดน ภาคใต้มีมาอย่างต่อเนื่องมีการผลัดเปลี่ยนผู้นำเป็นระยะ ๆ ตามสถานการณ์ภายในและ ภาย นอกประเทศรวมทั้งสถานการณ์ที่มีอยู่ในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตลอดจนบทบาทของ อุดมการณ์ที่มาจากประเทศในตะวันออกกลางและการฟื้นฟูความสำนึกในอิสลาม (อิมรอน 
มะลูลีม, ๒๕๓๔ : ๑๖๔ - ๑๗๘) รัฐบาลไทย เคยใช้นโยบายปฏิบัติการทางทหารเข้าไป ปราบปรามอย่างรุนแรงต่อมาได้ใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กันไปกับการ อุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม รวมทั้งการปรับปรุงความสัมพันธ์และทัศนคติระหว่างข้าราชการกับชาว มุสลิมให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นศูนย์ประสานงานและดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวรายละเอียดจาก http://www. pataninews.com/news SejarahPatani.htm
ประวัติศาสตร์จากที่มาต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่าพวกที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนเกิดขึ้นและ ปรากฏอยู่จริงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาเป็นเวลายาวนาน นานพอกับระยะเวลาที่ดินแดนแถบ นี้ตกมาเป็นส่วนหนึ่ง ของไทย และพยายามต่อสู้ดิ้นรนต่อต้านอำนาจของอาณาจักรสยาม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมาเป็นประเทศไทย ซึ่งในหนังสือสันติภาพในเปลวเพลิงได้ระบุว่าในบริเวณนี้ คือปฐมเหตุของการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนหรืออาจจะเรียกว่าการต่อสู้เพื่อเอกราช สุดแท้แต่ ว่าจะมองจากมุมไหน แต่ปรากฏการณ์ที่เห็นในความเป็นจริงคือเกิดการรบพุ่งกันอยู่มิได้ขาด นับ แต่อดีตกาลเรื่อยมา จะเห็นว่าการต่อต้านอำนาจรัฐของขบวนการแบ่งแยกดินแดน มีความ ชัดเจนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ จากหนังสือเล่มเดิมระบุไว้ว่า หน้า ๑๓๒ - ๑๓๔ ในส่วน ของความเห็นของผู้เขียนนั้นประวัติศาสตร์เป็นสิ่งเตือนใจให้คนรุ่นหลังมีความภาคภูมิใจใน ถิ่น เกิดย่อมมีผลผลักดันให้คิดว่าอยากจะรับใช้หรืออยากสร้างเมืองให้ เจริญไม่ใช้คิดจะแบ่งแยก ดินแดนยกตัวอย่างในประเทศอิตาลีที่ความเห็นของคนอิตาลีในแคว้นต่าง ๆ มีความรู้สึกว่าคน ต่างแคว้นเป็นคนต่างชาติแต่ก็ไม่มีปัญหาว่าคนอิตาลีจะแยกประเทศเลย กลับแข่งขันกันสร้าง ความ เจริญและอนุรักษ์วัตถุที่แสดงถึงความภาคภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์ของตนให้แกชุม ชนถิ่นเกิดของตัวเขาเองหากอยากทราบเพิ่มเติมหาได้จากหนังสืออิตาลี บริษัทสำนักพิมพ์หน้า ต่างสู่โลกกว้าง ซึ่งที่จริงแล้วการใช้ประวัติศาสตร์มาสร้างให้เกิดการต่อต้านน่าจะมาจากคน ที่สูญเสียความยิ่งใหญ่และความภาคภูมิใจรวมถึงความสำคัญของตนเองหรือ       พวกพ้องต้อง สร้างกลับคืนมา จะเห็นได้ว่าในอดีตนั้นผู้ที่อยากแบ่งแยกดินแดนเป็นทายาทผู้สูญเสียอำนาจ อยากทวงอำนาจของพวกตนคืนรายละเอียดดังนี้ ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) ก่อตั้งขึ้นมา ในรูปขององค์การโดยความริเริ่มของทายาทอดีตพระยาเมืองปัตตานี ที่สูญเสียอำนาจในสมัย รัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๔๔ โดยการยุบเลิกตำแหน่ง พระยาเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับบุคคลที่เสียผลประโยชน์ ทางการเมืองทำการก่อกวนความสงบ แสวงหาแนวร่วม โดยใช้จุดอ่อนของชาวไทยมุสลิม ในด้านความเป็นอยู่ เชื้อชาติ และศาสนา เป็นจุดเริ่มต้นในการโฆษณาปลุกระดมบ่อน ทำลายให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีของชนในชาติเพื่อหวังแบ่งแยกดินแดนที่คนไทย
มุสลิมเคยอยู่อาศัยทำมาหากินในพื้นที่ ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบางส่วนของ จังหวัด สงขลาออกจากการปกครองของไทยเป็นข้อมูลบางส่วนจากหัวข้อ วิทยานิพนธ์ ยุทธศาสตร์และ กลยุทธ์ขององค์การ ปลดปล่อยอิสรภาพรัฐปัตตานี โดย พันตำรวจตรี วีระวุธ ชัยชนะมงคล และในบางส่วนของที่มาประวัติศาสตร์ข้างต้น ซึ่งกระทำการไม่สำเร็จเพราะแนวร่วมไม่เห็นด้วย กับการมีสุลต่านปกครองประกอบกับรัฐบาลได้แก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งแล้วจนเป็นเหตุให้กลุ่ม
ขบวนการเริ่มอ่อนแรง และหาแนวร่วมรวมกองกำลังไม่ได้ สาเหตุน่าจะมาจากกลุ่มขบวนการ ไม่มีเงิน จึงมาเรียกค่าคุ้มครองทำให้ ประชาชนเริ่มตีตัวออกห่าง ถึงแม้จะปรับวิธีการต่าง ๆ นานาก็ไม่สามารถเกิดความศรัทธาจากประชาชนซึ่งสุดท้ายก็แตกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ผู้เขียนมี ความเห็นว่าปัญหาของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันน่าจะมาจากพวกมักใหญ่ใฝ่สูง แย่งชิงผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือไม่มากกว่าจะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดขบวน การ ใหม่ขึ้นเนื่องจากความเห็นไม่ลงรอย สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเกิดจากการแบ่งผลประโยชน์
ไม่ลงตัว แต่มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับการแยกตัวของกลุ่มต่าง ๆ จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ รัฐท่านหนึ่งซึ่งสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ผู้เขียนเมื่อประมาณปี ๒๕๔๓ สรุปได้ว่า พวกแบ่งแยกดินแดนแทบจะไม่เหลือแล้ว น่าจะหมดอุดมการณ์ไปพร้อมกับพวกอยากแยก ดินแดนสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งแทบจะแก่ตายหมดแล้วมีก็พวกที่ไม่ค่อยมี อุดมการณ์
แน่วแน่เหมือนแต่ก่อน ตอนนี้ก็น่าจะเป็นโจรลูกผสม ลักษณะพวกโจรที่มีคดีติดตัวทั้งอิสลาม และไม่ใช่อิสลาม เมื่อมีหมายจับแล้วจะหนีมาขออยู่กับขบวนการแบ่งแยกดินแดนต่าง ๆ โดยที่ขบวนการต่าง ๆ ที่ยังมีอุดมการณ์แน่วแน่แต่แก่ตัวมากจะใช้ให้แนวร่วมสืบว่าบุคคลท ี่เข้ามาร่วมกลุ่มด้วยมีคดีติดตัวมาจริงหรือไม่ ถ้ามีคดีติดตัวจริงก็จะรับเข้ากลุ่ม หากไม่ใช่ก็อาจ จะ ขับออกจากกลุ่มแล้วจะให้คนเหล่านั้น นำจดหมายพร้อมประทับตราขบวนการต่าง ๆ มาทิ้งไว้ตามสถานที่เป้าหมาย เมื่อได้เงินแล้วก็แบ่งครึ่งกัน หากไม่ได้ก็ไม่เป็นไรเสี่ยงดวง เอาว่า เป้าหมายที่ส่งจดหมายข่มขู่กลัวอำนาจของพวกตนหรือไม่ และกระทำกันหลาย ๆ กลุ่ม จะเห็นได้ว่าขบวนการต่าง ๆ นั้นต้องการเงินมาหล่อเลี้ยง กองกำลังของตน ผู้เขียนสันนิษฐานว่า สาเหตุของการแยกตัวเองออกจากกลุ่มน่าจะแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัวจึงแตกตัวขึ้นมาตัวอย่าง ง่าย ๆ จากภาพยนต์ประเภทบู้ล้างผลาญ คือ ลูกพี่หรือผู้มีอิทธิพลหากต้องการฐาน อำนาจ เดิมอยู่ต้องมีเงินไว้เลี้ยงบรรดาลูกน้องที่เป็นพวกเสือสิงห์ กระทิงแรด เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเอง หลุดจากอำนาจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงตัวเหมือนการนั่งบนหลังเสือจะลงก็ลำบาก เมื่อจน ตรอก ขบวนการต้องขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากต่างประเทศยิ่งทำให้อุดมการณ์หมดไปยิ่งทำ ให้ประชาชนตีตัวออกห่างเพิ่มขึ้นอีก จนเป็นเหตุให้ขบวนการชักนำอาจจะเป็นกลุ่มก่อการร้าย ข้ามชาติมาผสมโรงในเหตุการณ์ทั้งหมดจนยุ่งเหยิงและหาต้นตอไม่ได้

    หากเรามองผลประโยชน์ที่อยู่นอกระบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากข้อมูลที่ผู้เขียน ร่วมรับฟังการเสวนา ปัญหาชายแดนภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ได้รับทราบว่ามี
ผลประโยชน์ที่เป็นการค้านอกระบบเป็นเงินถึงหมื่นล้าน ไม่นับรวมการค้ายาเสพติดสันนิษฐาน ได้ว่า ถ้าพื้นที่ใดมีผลประโยชน์นอกระบบมาก ๆ กลุ่มผู้มีอิทธิพลย่อมไม่อยากให้พื้นที่นั้น ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งคนอื่นนอกกลุ่มที่จะเข้ามาหาผลประโยชน์ร่วม หากรัฐบาลเพ่งเล็งมาก ๆ การค้าของกลุ่มผู้มีอิทธิพลย่อมยากลำบาก และยิ่งมีคู่แข่งนอก กลุ่มก็ยิ่งทำการค้าได้ลำบากขึ้น ซึ่งมีผู้ร่วมในการสัมมนาได้กล่าวว่าปัญหาใน ๓ จังหวัดชาย แดนภาคใต้ น่าจะมาจากการแก้แค้นของกลุ่มชาวบ้านที่แคลงใจรัฐบาลในเรื่องที่สงสัยว่าเจ้า หน้าที่ของรัฐที่ทำร้ายและสร้างความไม่เป็นธรรมแก่ชาวบ้าน แต่ไม่สามารถหาคำตอบ ให้ชาวบ้านได้ และแนวทางแก้ไขในสายตาประชาชนมีข้อมูลทั่วไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะ กล่าวหาว่า คนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความคิดจะแยกดินแดนนั้นไม่น่าจะใช่เนื่องจากมีเหตุผล สนับสนุนจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๘ ว่า ประชาชนใน ๓ จังหวัด ออกมาใช้สิทธิประมาณ ๗๒ เปอร์เซ็นต์ ทำให้เห็นว่าประชาชนมีความต้องการอยากใช้สิทธ ิเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางการเมืองและทำให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยเข้มแข็ง มากกว่าคนไทยบางจังหวัดเสียอีก แล้วจะมองว่าเขาต้องการแบ่งแยกดินแดนตรงไหน ซึ่งก็สอดคล้องกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแนวทางแก้ไข ในสายตาประชาชน ในการสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อขบวนการเคลื่อนไหว ก่อความไม่สงบของกลุ่มดังกล่าวพบว่า ตัวอย่างร้อยละ ๖๙.๕ ตำหนิการกระทำดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ ๑๐.๒ ไม่ตำหนิ และร้อยละ๒๐.๓ ไม่ระบุความคิดเห็น
รายละเอียดจาก http168.120.31.165/webbase/2548/0302..html ได้รับทราบ ข้อมูล จาก การ เข้าร่วมฟังเสวนาเกี่ยวกับการเสนอผลสำรวจภาคสนามว่าจำนวนที่เป็นกลุ่ม ตัวอย่าง มี ๓,๒๗๙ คน และมีลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
- ร้อยละ ๕๔.๘ เป็นหญิง ร้อยละ ๕๔.๘ เป็นชาย 
- ร้อยละ ๓๔.๖ อายุระหว่าง 
๒๐ - ๒๙ ปี ร้อยละ ๒๑.๙ อายุระหว่าง 
๓๐ - ๓๙ ปี ร้อยละ ๑๘.๓ อายุระหว่าง 
๔๐ - ๔๙ ปี ร้อยละ ๑๗.๒ อายุ ๕๐ ปีขึ้นไป
- ร้อยละ ๒๒.๒ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๗๗.๔ นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๐.๔ นับถือศาสนาคริสต์ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่าตำหนิขบวนการแบ่ง แยกดินแดนนั้นมีเหตุ ผลสำคัญ อาทิ
- ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน/มีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป
- ฆ่าคนบริสุทธิ์/ไม่มีมนุษยธรรม
- ทำให้เกิดความไม่สงบในประเทศ/อยากให้มีความสงบในพื้นที่
- ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ
- อื่น ๆ อาทิ ควรจะมีความสามัคคี จะดีกว่า/ทำให้ต่างชาติมองประเทศไทย ในแง่ลบ ฯลฯใน ส่วน ของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่าไม่ตำหนิขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีเหตุผลสำคัญอาทิ

- ยังไม่รู้จุดประสงค์ของการเคลื่อนไหว
- เข้าใจอุดมการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหว
- ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนเอง
- ภาครัฐไม่ให้ความเป็นธรรม
- อื่น ๆ อาทิ เราไปใช้กำลังกับเขาก่อน/อาจเป็นประโยชน์กับเราภายหน้า

      มีผู้ให้ความเห็นกับผู้เขียนกับข้อมูลผลสำรวจว่าผู้ที่ตำหนิการ กระทำของ ขบวนการ ฯ มีถึงร้อยละ ๖๙.๕ หากรวมกับผู้ที่ไม่ระบุความคิดเห็นร้อยละ ๒๐.๓ ซึ่งอาจจะมีความ เกรงกลัวภัยที่มีมาถึงรวมเป็น ร้อยละ ๘๙.๘ ไม่น่ามีปัญหาแต่ที่ที่มีปัญหาจริง ๆ น่าจะ มีประมาณร้อยละ ๑๐.๒ที่ต้องการให้เกิดเหตุร้าย ถึงขั้นแบ่งแยกดินแดน และอาจจะมีบางส่วน ที่เกลียดชังเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอยากให้ผู้ก่อการแก้แค้นให้แต่ไม่มีความคิด
     จะแบ่งแยกดินแดน จากข้อมูลดังกล่าวมามองกันว่าผู้ที่ไม่ตำหนิการกระทำของผู้ก่อการ นั้น จากหนังสือสันติภาพในเปลวเพลิงระบุว่า ผู้ที่ร่วมก่อการในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ หลายคน ก่อนที่จะเข้าร่วมก่อการในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ กับ อุสตาซโซะเขาได้พูด ในทำนองที่ว่า 
เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจชอบข่มเหงรังแกประชาชน ก่อนที่จะบอกหนทางในการ แก้ไขโดย ต้องแบ่งแยกดินแดนมาปกครองกันเอง ทำให้หลายคนคล้อยตามเข้าร่วมกับเขาหากพวกเขา ไม่มีความ เกลียดชังเจ้าหน้าที่คงไม่มีใครคล้อยตามตามที่อุสตาสโซะปลุกระดมอาจจะมีครึ่ง หนึ่งหรือมากกว่าที่มีความรู้สึกอย่างนั้น แต่ไม่ได้คิดอยากแยกดินแดนแต่มีความคิดลึก ๆ อยากให้ใครก็ตามที่สามารถกระทำอะไรก็ตามที่แก้แค้นเจ้าหน้าที่ที่ตนเองเกลียดชังได้คล้าย ๆ กับเด็กแข่งมอเตอร์ไซดบนถนนที่ไม่ชอบเจ้าหน้าที่มากวดขัน แต่หากเขาโตเป็นผู้ใหญ่ มีหน้าที่การงานที่ดีหรือมีครอบครัวก็อาจจะเปลี่ยนความคิดนั้นไปอีกอย่างหนึ่งจะว่าพวกเขางม งายก็ไม่น่าจะใช่เพราะการเชื่อในสิ่งต่าง ๆ ของคนในยุคนี้นั้นต้องมีการพิสูจน์จะว่าพวกเขา ไม่มีความรู้ก็ไม่น่าจะใช่ ถ้าคนที่สนใจประวัติศาสตร์ก็ต้องรู้จักการพิจารณาหากเขาเชื่อว่าฟัน แทง หรือยิงไม่เข้าน่าจะต้อง มีการพิสูจน์ เพราะเขาเห็นอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยี มีที่มาที่ไป ข่าวสาร วิทยาการ หรือความรู้ หาได้ตามหนังสือพิมพ์ หนังสืออื่น ๆ โทรทัศน์ วิทยุ แม้แต่โทรศัพท์มือถือก็สามารถส่งข่าวหรือข้อมูลถึงกันได้มีอีกประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียน เคยสนทนากับคนไทยที่เคยลักลอบไปทำงานในหลายประเทศแถวทวีปยุโรปได้กล่าวว่า เขา อยากจะไปอยู่ในประเทศแถวนั้น เพราะมีอิสระในการใช้ชีวิตแม้จะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ซึ่งไม่ เหมือนเมืองไทย หากไม่เป็นทหารตำรวจ หรือข้าราชการ หรือผู้มีอิทธิพลหรือไม่รู้จัก กับ บุคคลที่กล่าวมาทั้งหมด เขามีชีวิตที่เหมือนคนชั้นสองของประเทศมีโอกาสถูกรังแกง่าย ๆ เขาเชื่อว่าปัญหาภาคใต้นั้น น่าจะเกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐไปข่มเหงรังแกประชาชนเขายังยก ตัวอย่างว่าหากคนขับรถรับจ้างทุกประเภทรวมตัวกันได้เหมือนคนในสามจังหวัด คงอยากทำ กับเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับพวกเขาหรือจะมองว่ามุสลิมมีความคิดจะ ก่อความ รุนแรงนั้นผู้เขียนเห็นว่าไม่น่าจะเป็นความจริงดูได้จากหนังเรื่อง KINGDOM OF HEAVEN จะเห็นได้ว่ามุสลิมจะเปล่งคำพูดที่ว่า ขอสันติสุขจงมีแด่ท่าน และมีความรู้สึกเสียใจที่พวกพ้อง ต้องตายในการทำสงครามที่ผู้มักใหญ่ใฝ่สูงต้องการให้เป็นอย่างนั้นและจากมติที่ประชุม คณะ มนตรีก่อตั้งสันนิบาตมุสลิมโลก ครั้งที่ ๓๘ ณ เมืองเมกกะภายใต้พระราชูปถัมภ์ ของกษัตริย์ฟาฮัด ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๐ กันยายน ค.ศ.๒๐๐๔ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ ที่ประชุม ได้หยิบยกประเด็นการก่อการร้ายที่เกิดในประเทศอิสลามต่าง ๆ และย้ำว่า การฆ่า มุสลิมด้วยกันนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาและได้รับผลตอบแทนคือความโกรธกริ้ว จากอัลเลาะห์และการฆ่าผู้คนต่างศาสนาที่สมควรได้รับการคุ้มครองก็เป็นสิ่งที่ต้องห้ามเหมือน กัน ทั้งนี้ที่ประชุมได้ชี้แจงว่าการก่อการร้ายคือการทำลายบนผืนแผ่นดิน โดยการฆ่า สร้างความ
หวาดกลัวทำลายสิ่งก่อสร้างบ้านเรือนดังนั้นจึงถือว่า การก่อการร้ายเป็นการทำสงคราม กับอัลเลาะห์ พร้อมกันนี้ได้ย้ำว่าการก่อการร้ายเกิดขึ้นได้ทั่วทุกมุมโลก เพราะความไม่มี ถิ่นที่ มา ไม่มีสัญชาติ และศาสนาจะเห็นได้ว่ามุสลิมรักสงบเพียงใดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศ ไทยนั้น ที่ประชุมได้เรียกร้องชาวมุสลิมทั้งหลายอย่าเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ก่อความ ไม่สงบและต้องการที่จะเห็นชาวมุสลิมในประเทศไทยดำรงชีวิตด้วยความสงบสุข ดังนั้นจึง เสนอ ให้สันนิบาต ฯ ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็นมุสลิมของตน พร้อมมอบความช่วยเหลือแก่สถาบันการเรียนการสอนของอิสลามในประเทศไทยและช่วยเหลือ ในการจัดวางแนวทางการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของมุสลิมในประเทศ ไทยซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยแสดงให้เห็นว่าคณะมนตรีก่อตั้งสันนิบาต มุสลิมโลกซึ่งเป็นตัวแทน ของชาวมุสลิมทั้งโลกก็ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของผู้ก่อการ และเป็นห่วงมุสลิมไทย รวมทั้ง
ผู้เขียนเชื่อว่าประชาชนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีความ เห็นสอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะมนตรีก่อตั้งสันนิบาตมุสลิมโลก สิ่งที่ชี้ให้เห็นน่าจะเป็นเช่น นั้นมาจากการที่คุณอาสรา เดชะวิบูลย์ขณะที่ศึกษาปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยบูรพาได้เสนอ ปริญญานิพนธ์หัวข้อ บุคลิกภาพของนักเรียนไทยมุสลิม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ในเขตการศึกษา ๒ ในปี ๒๕๓๕ ที่ว่านักเรียนไทยมุสลิมที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน มีบุคลิกภาพด้านความ มั่นคงทางอารมณ์ ด้านสภาพทางอารมณ์ ด้านความสามารถในการรับผิดชอบด้านความมั่นใจ ในตนเอง ด้านความสามารถในการควบคุมจิตใจและด้านการบังคับตนเอง ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนไทยมุสลิมได้รับคำสอนจากหลักธรรมของศาสนาอิสลาม
    ให้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่ารูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูของ ครอบครัวจะ เป็นแบบใดก็ตาม ซึ่งน่าจะเดาได้ว่าชาวไทยที่นับถือศาสนา อิสลาไม่หลงไปกับกลุ่มก่อการร้าย
แน่นอนและมีความคิดเห็นสอดคล้องตามมติที่ประชุมสันนิบาตฯแต่ก็มีข้อสังเกตประการหนึ่ง
ว่าปี ๒๕๓๕ ไม่มีทีท่าว่าจะเกิดเหตุการณ์ร้ายแต่ทำไมในช่วงปี ๒๕๔๔ ถึงปัจจุบันนี้ จึงเกิด เหตุการณ์ร้าย แล้วอะไรที่ทำให้พวกเขามีความรู้สึก โกรธแค้น เกลียดชัง หรืออัดอั้นจน เป็น เหตุ ที่ ทำให้ประชาชนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้บาง ส่วนที่ไม่ อยากจะอยู่ร่วมประเทศกับคนไทยในจังหวัดอื่น และยินยอมให้พวกก่อการใช้ประโยชน์มา เป็นแนวร่วมเพื่อใช้ในการก่อเหตุหรือชักจูงและครอบงำพวกเขา เหล่านั้นในส่วนของส่วน ผลสำรวจคนที่ไม่ตำหนิการกระทำของผู้ก่อการที่อยู่ในขั้นอยากแยกดินแดน ซึ่งน่าจะมีน้อยกว่า หรือประมาณร้อยละ ๕ ซึ่งเป็นตัวเลขคาดเดาเอา คำตอบนั้นจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่คนไทย ที่ลักลอบเข้าทำงานในประเทศแถวยุโรปให้ความคิดเห็นด้วยหรือไม่ หรือจะเป็นจากที่ผู้เขียน ได้รับทราบข้อมูลจากหน้าที่ของรัฐท่านหนึ่งว่า กลุ่มผู้ที่ทำให้เกิดปัญหา ๓ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้มาจากคน ๓ กลุ่ม คือกลุ่มผู้มีอิทธิพล กลุ่มผู้ค้ายาเสพติด และกลุ่มต้องการแบ่ง แยกดินแดน ซึ่งในพื้นที่หนึ่งอาจมีหัวหน้าเป็นทั้ง ๓ กลุ่ม เพียงคนเดียว หรือหนึ่งคนเป็นทั้ง ๒ กลุ่มอีกคน เป็น ๑ กลุ่มหรือต่างคนต่างเป็น แต่ใน ๑ คนในพื้นที่เป็นครบ ๓ กลุ่ม
 ก็ พยายามสร้างความวุ่นวาย ให้เกิดขึ้นซึ่งน่าจะมาจากการปกป้องผลประโยชน์นอก กฎหมายของกลุ่มตน แต่ใช้กลุ่มแบ่งแยกคนเดิมที่มีพื้นฐานเป็นอาชญากรอยู่แล้วมาดำเนิน การเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและกลุ่มนอกเหนือ ๓ คน เข้ามามีบทบาทหรือขัดขวางช่อง ทางธุรกิจ โดยใช้กลุ่มที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนมาเป็นผู้ก่อเหตุทั้งหมดจนเป็นเหตุให้ กลุ่ม แบ่ง แยกดินแดนที่รอจังหวะและเตรียมการมานานก็มีโอกาสท เจริญเติบโตในช่วงปี ๒๕๔๔ เพราะมีเสรีในการปฏิบัติ จนเขาเหล่านั้นเกรงกลัวจนคิดว่ากระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และดีงามในการกระทำของคนเหล่านั้น จนทำให้มีการพัฒนาไปสู่การก่อความไม่สงบใน พื้นที่ภาคใต้ อย่างนั้นหรือจากข้อมูลที่กล่าวไปนั้นแล้วแต่ผู้อ่านจะพิจารณาวิเคราะห์ดูนะ ครับ แต่ที่แน่ ๆขณะนี้ รัฐบาลยังตอบไม่ได้มาปีกว่าแล้ว ซึ่งผู้เขียนมีความคิดเห็นและอยากเสนอ ความเห็นว่าการแก้ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นต้องมองว่ามนุษย์เป็นมนุษย์ไม ่ใช้สัตว์เลี้ยงที่อยากให้ของขวัญหรือของกำนัลแล้วเขาพึงพอใจแล้วเขาจะจงรัก ภักดีกับเจ้าของ ให้เขาคิดว่าเขาอยากอยู่ในประเทศไทยเพราะเขามีชีวิตและทรัพย์สินปลอดภัย มีอิสระการหา เลี้ยงชีพโดยสุจริตไม่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ไม่ใช่ยัดเยียดหรือให้เขาโดยเขาไม่ เต็มใจรับอย่ามองเขาว่าเป็นมุสลิมแล้วแปลกเป็นคนประหลาด ซึ่งมุสลิมทุกคนนั้นมีการ ประพฤติปฏิบัติเปรียบเสมือนพระสงฆ์ในศาสนาพุทธที่ต้องปฏิบัติตาม พระวินัยเพราะศาสนา อิสลามบัญญัติไว้อย่างนั้นไม่เหมือนศาสนาพุทธหากเป็นฆราวาสไม่ต้องเคร่งครัด ในการ ปฏิบัติมากนัก เพราะไม่มีการบังคับ จริง ๆ แล้วชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มีความเป็น ชุมชนเข้มแข็งที่เป็นจุดแข็งของเขาถ้าคนในชุมชนและผู้นำของเขามีความเห็นสอด คล้องกัน
การพัฒนาจะทำได้ดีหากม การสนับสนุนที่เป็นระบบตามความต้องการของเขาย่อมจะ มีผลดีขึ้น การให้บริการหรือให้ความช่วยเหลือนั้นต้องไม่ให้แก่ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มากกว่าคนไทยที่นับถือศาสนา อื่นน่าจะให้เท่าเทียมกันจะเป็นการดีกว่าเพราะไม่รู้สึ กแปลก แยก จาก กัน ปัญหาน่าจะเบาบางลง ผู้เขียนเคยเห็น คุณหมอที่เป็นอตีดนางสาวไทย ท่านหนึ่งไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิที่จังหวัดพังงาในโทรทัศน์ เห็นว่า คนที่มีความทุกข์หวาดวิตกเริ่มที่จะคลายทุกข์และไว้วางใจ รวมทั้งระบายสิ่งที่อัดอั้นในใจ
ออกมาผ่านหน้าจอโทรทัศน์ เป็นก้าวแรกที่จะเข้าถึงเขาได้ต่อไปก็เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ผู้เขียนมีความเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคง หากมีความรู้และเข้าใจที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพจิตแบบที่คุณหมออดีตนางสาว ไทยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ร่วมงานปฏิบัติต่อผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิ ที่จังหวัด พังงาปัญหาน่า จะเบาบางลงและไม่มีปัญหาไปในที่สุดตามที่คนไทยทุกคนปรารถนา

  ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
     ไม่น่าจะเกิดจากรากเง้าของประวัติศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น ปัญหาน่าจะมาจากผู้มักใหญ ่ใฝ่สูงเอาความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ที่น่าภาคภูมิใจมาแต่งเติมใส่ความ เกลียดชังให้แก่ คนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม รวมทั้งนำความไม่จริง มาเสริมเติมแต่งในพระมหาคัมภีร์อัลกุร อานให้เป็นประโยชน์แกผู้มักใหญ่ใฝ่สูงมาหลอกลวงคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีศรัทธา
มั่นเป็นเครื่องมือ ซึ่งมุสลิมนั้นฃรักสงบและไม่อยากเป็นศัตรูกับใครหากผู้มีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหารวมทั้งชาวไทยทุกคนมีแนวความคิดในการแก้ปัญหาเป็นไป ตามแนวทางกระแส พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานพระราชดำรัส ให้เป็นหลัก ดำเนินการ คือ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาจึงจะทำให้ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้สู่สันติสุขโดยเร็ว